ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๗๔
ใจท่านก็นิ่ง
จนกระทั่งพอถูกส่วนเข้า ความสว่างก็เกิด สว่างเกิดขึ้นท่านก็ไม่ได้
ลิงโลดใจ ท่านก็นิ่ง สว่างได้สว่างไป มืดได้มืดไป เมื่อยได้เมื่อยไป ท่านก็
หยุดนิ่งเฉย จะมืด จะเมื่อย หรือกระทั่งแม้จะสว่างก็ตาม ท่านก็นิ่งเฉยๆ
ท่านนั่งดูปรากฏการณ์ที่บังเกิดขึ้นด้วยใจที่เป็นปกติ ราวกับผู้ที่เจนโลก
มองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นด้วยหัวใจที่เป็นปกติ ไม่กระเพื่อม จะ
มืด จะสว่าง ท่านก็นิ่งเฉย ไม่ปรารมภ์ใด ๆ ทั้งนั้น
พอถูกส่วนเข้าในกลางความสว่าง ท่านก็เข้าถึงธรรมเบื้องต้นเป็นจุด
สว่าง มีจุดสว่างเป็นเครื่องหมายให้ใจยึดเกาะ ให้ใจจรดหยุดนิ่งอยู่ในกลาง
เครื่องหมายนั้น แล้วท่านก็นิ่งของท่านเรื่อยไปอีก จนกระทั่งจุดสว่างขยาย
มาเป็นดวง ท่านก็นิ่งเฉย นิ่งไปเรื่อย ในที่สุด ท่านก็ได้บรรลุธรรมกาย....”
อยากเป็นตัวไม่สำเร็จ
ความตั้งใจมากเกินไปที่จะเข้าถึงพระธรรมกาย หรือความอยากมาก
เกินไป อันเป็นเหตุให้ใจไม่หยุดนิ่งนั้นเป็นสิ่งไม่ดี พระพุทธองค์ทรงจัด
“ความอยาก” เป็นหนึ่งในอุปกิเลส เป็นอุปสรรคของสมาธิ ดังนั้นผู้รักที่จะ
เข้าถึงธรรมะจริง พึงเข้าใจเถิดว่า
หยุดเป็นตัวสำเร็จ อยากเป็นตัวไม่สำเร็จ
หยุดทําให้ง่าย อยากทําให้ยาก
ทำง่ายใจก็หยุดง่าย ทำยากใจก็หยุดยาก
ลาหยุดก็ลาง่าย ลาอยากก็ลายาก
ทําหยุดก็ถึงง่าย ทําอยากก็ถึงยาก
จากยอดดอย
ทะเลไม่ว่างเว้นด้วยคลื่น ชีวิตจะสดชื่นต้องไม่ว่างเว้นศูนย์กลางกาย