การบวชและอิสระภาพในพระพุทธศาสนา จากยอดดอย หน้า 50
หน้าที่ 50 / 281

สรุปเนื้อหา

การบวชเป็นวิธีการฝึกฝนตนเองที่นำไปสู่อิสรภาพและความสุขที่แท้จริง สตรีสามารถเข้าถึงสภาวธรรมอันสูงสุดได้ โดยการบวชเป็นอุบาสิกาแก้ว ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทางวัดพระธรรมกายได้จัดพิธีบวชเป็นอุบาสิกาแก้วร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยบวชพร้อมกันหลายแสนคน ณ วัดพระธรรมกาย

หัวข้อประเด็น

-การบวชในพระพุทธศาสนา
-อิสระภาพและความสงบ
-สตรีในพระพุทธศาสนา
-อุบาสิกาแก้ว
-ขนบธรรมเนียมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕๐ ตัดใจจากครอบครัว จากภารกิจ ต้องหักใจจากของรัก ต้องห้ามใจจากสิ่งยั่วยุ สิ่งเย้ายวนทั้งภายนอกและภายในจิตใจของตนเอง แต่ในที่สุดการบวชนั้น จะนำพาไปสู่อิสรภาพ พบความปลอดโปร่งใจอย่างไม่มีประมาณ พบกับ ความเบากายเบาใจอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน การบวชจึงเป็นการฝึกฝนตนเองที่รวดเร็วรวบรัดที่สุด เป็นพุทธ วิธีที่นำผู้บวชเข้าถึงสุขที่แท้จริงได้ บรรพบุรุษไทยจึงวางแบบแผนให้การ บวชเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามที่พึงปฏิบัติสืบสานมาถึงปัจจุบัน สตรีกับสภาวธรรมอันสูงสุด พระพุทธศาสนาไม่มีการกีดกันทางเพศ โดยเฉพาะสภาวธรรม อันสูงสุดคือการตรัสรู้ธรรม ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ว่าจะมีได้เฉพาะ พระภิกษุเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงสภาวธรรมอันสูงสุดนี้ได้ทั้ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา บวชอุบาสิกาแก้ว นับเป็นโอกาสทองของสตรีอีกวาระหนึ่ง แม้จะบวชเป็นพระภิกษุ สามเณรไม่ได้ แต่มีโอกาสดีที่จะได้บวชเป็นอุบาสิกาแก้วรุ่นแรกของโลก “อุบาสิกาแก้ว” ถือว่าเป็นยอดหญิงผู้รักบุญ รักการฝึกตนเอง บวชโดยรักษาศีล ๘ ไม่ต้องปลงผม วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ถือเอาวโรกาสมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหามหาราชินี รวมพลังแสดงความกตัญญู กตเวทิตาต่อพระองค์ท่าน โดยการบวชเป็นอุบาสิกาแก้วพร้อมกันหนึ่ง แสนคน ในวันที่ ๗ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี - จากยอดดอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More