ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อพระพุทธองค์ไม่เคยหวั่นไหวต่อสิ่งใด เพราะสามารถกำจัดกิเลสอาสวะได้จนหมดสิ้น ไม่เหลือ
แม้กระทั่งเศษเสี้ยว จึงมีนัยที่แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นผู้ควร หมายถึง เป็นผู้ที่เหล่ามนุษย์และเทวา
ทั้งหลายสมควรแก่การเคารพ เทิดทูนบูชาอย่างยิ่ง และเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดที่แท้จริง
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส เพราะพระพุทธองค์เป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหวจาก
กิเลสทั้งปวงที่จะมากระทบใจได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลใดมาพบเจอพระพุทธองค์ ก็รู้ว่าท่านผู้นี้คือ บุคคล
ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้ เทิดทูนบูชาไว้ในใจ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดที่แท้จริง
ประการที่ 2 สัมมาสัมพุทโธ มาจากคำ 3 คำ คือ คำว่า สัมมา คำว่า สัม และคำว่า พุทโธ คำว่า
“พุทโธ” แปลว่า รู้ เข้าใจ” หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่ทั้งรู้ทั้งเห็นอย่างถูกต้อง โดยอาศัยธรรมจักษุ
ซึ่งสิ่งทั้งหลายที่พระองค์รู้เห็นนั้น ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่คาดคะเนหรืออนุมานเอา เพราะพระพุทธองค์
เป็นผู้ที่มีดวงตาธรรม คือ ตาภายใน เห็นเหตุในทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง และการตรัสรู้ของ
พระพุทธองค์มีขั้นตอนเป็นไปตามลำดับ
เมื่อเป็นเช่นนี้พระพุทธองค์จึงทรงมีความรู้ความเข้าใจตามความ
เป็นจริงทุกประการ ซึ่งเป็นไปตามเนื้อความในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรตอนหนึ่งที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 แล้ว ก็ทำให้ธรรมะเหล่านี้เกิดขึ้นแก่เรา คือ จักขุ ญาณัง ปัญญา วิชชา
อาโลโก” ซึ่งคุณพิเศษทั้ง 5 อย่างนี้ จะเกิดขึ้นมาตามลำดับ อะไรที่เป็นความมืดมน หรือลี้ลับของโลกและ
ชีวิต ก็ถูกเปิดเผยขึ้น พระองค์จึงเป็นเหมือนประทีปธรรมเอกของโลกและจักรวาล ที่นำความสว่างไสวมาสู่
ใจของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ดังนั้น เมื่อพระพุทธองค์ดำเนินทางสายกลางคือ มรรคมีองค์ 8 จนสามารถตรัสรู้ธรรม รู้เห็น
เหตุเกิดของสรรพสิ่งตามความจริง จึงทำให้เข้าใจในสรรพสิ่งตามความเป็นจริงทุกอย่าง และทำให้กำจัด
กิเลสอาสวะได้หมดสิ้น พร้อมกับทรงรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง พร้อมทั้งเหตุทั้งผลอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ความรู้เช่นนี้จึงไม่มีบุคคลใดที่จะสามารถมาติเตียนพระพุทธองค์ได้ เพราะว่าการที่บุคคลใดจะทำอะไรหรือ
เรียนอะไรก็ตาม ย่อมต้องเห็นก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าไม่ได้เห็นแล้วก็ยากที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำ
หรือเรียนในสิ่งนั้น ความรู้ที่พระพุทธองค์รู้นั้น จึงสามารถแปลได้ว่า ทั้งรู้ทั้งเห็น ไม่ใช่รู้เพียงอย่างเดียว
คำว่า สัม มาจากคำว่า สัง แปลว่า ด้วยตนเอง เป็นคำนำหน้า พุทโธ จึงหมายความว่า พระพุทธ
องค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องให้บุคคลใดมาสอน หรือไม่ได้ไปคัดลอกเลียนแบบใคร เพราะ
พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นด้วยตนเอง
คำว่า สัมมา แปลว่า โดยชอบ ถูกต้อง เป็นคำนำหน้า สัมพุทโธ จึงหมายความว่า พระพุทธองค์
ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองในสิ่งที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น และในสิ่งที่ตรัสรู้ยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงตามความ
เป็นจริงทุกประการ เพราะสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้น มีเหตุผลรองรับกันเสมอ ไม่ได้มีความคลาดเคลื่อนกัน
เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงรู้เหตุและผล รู้ว่าอะไรเป็นเหตุและรู้ว่าอะไรเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำเหตุ
เหล่านั้น
พระมหาสมปอง มุทิโต, คัมภีร์อภิธานวรรณนา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2542, หน้า 13.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, พระวินัยปิฎก มหาขันธกะ, มก. เล่ม 6 หน้า 46.
ป. หลงสมบุญ,พันตรี, พจนานุกรมมคธ-ไทย, กรุงเทพฯ : อาทรการพิมพ์, หน้า 687.
4 พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย, 2538, หน้า 329.
24 DOU
ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า