ข้อความต้นฉบับในหน้า
12. เมื่อกำเนิดในสัตว์เดรัจฉาน ย่อมเป็นสัตว์อยู่ในประเภทที่มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบและไม่
ใหญ่กว่าช้าง
13. ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรต คือ เปรตผู้หิวกระหาย และนิชฌามตัณหักเปรต คือ เปรตผู้ถูก
ความอยากเผาผลาญ และกาลกัญชิกาสูร คือ เปรตชนิดหนึ่งที่ตัวสูงใหญ่มาก
14. ไม่เกิดในอเวจีมหานรกและโลกันตนรก
15. เมื่อเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นกามาวจรก็ไม่เป็นเทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ และไม่เป็นเทวบุตรมาร
16. ไม่เกิดเป็นอสัญญีพรหม ซึ่งเป็นพรหมที่มีแต่รูปร่าง ไม่มีความรู้สึกนึกคิด และไม่เกิดเป็น สุทธา
วาสพรหม เพราะว่า สุทธาวาสพรหมจะต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ในไม่ช้า
17. ไม่เกิดในอรูปภพ เพราะเป็นอรูปพรหมที่ทำฌานที่ไม่มีรูปมากำหนดเป็นอารมณ์ จักมีอายุ
ยืนยาวมาก
18. ไม่ไปเกิดในจักรวาลอื่น
นอกจากนี้ยังอานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ การทำอธิมุตตกาลกิริยา คือ เมื่อพระองค์เกิดเป็น
เทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่ายในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์
พระองค์ก็สามารถทำการอธิมุตต คือ อธิษฐานให้จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพ
เทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
3.4 พุทธภูมิธรรม
ผู้ที่สั่งสมบุญบารมีไว้มากๆ อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่ว่าใครจะทำกันได้หมดทุกคน
เพราะการที่จะฝึกฝนตนเองให้มีนิสัยรักในการทำความดีสร้างบารมีอย่างเต็มกำลังสุดชีวิตนั้นหาได้ยากมาก
พระพุทธองค์จึงเป็นเอกบุรุษที่ไม่เป็นสองรองใคร โดยได้วางแบบแผนของชีวิตเอาไว้อย่างดี แล้วทุ่มเทใน
การฝึกฝนตนเองรวมทั้งได้ฝึกคนอื่นพร้อมกันไปด้วย เพื่อจะได้มีกองกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย
และยังเป็นพยานให้กับตนเองได้ว่า “เราจะมาสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ไม่ให้คนอื่นเข้าใจ
ตนเองผิดได้ในการทุ่มเทฝึกทั้งตนและคนอื่น ดังนั้นเมื่อพระองค์ได้ทุ่มเทอย่างนี้มาหลายภพหลายชาติที่เกิด
มาสร้างบารมี ไม่ว่าจะเกิดมาในชาติกำเนิดอะไรก็ตาม จึงทำให้ลักษณะพิเศษสำหรับผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิได้
เกิดขึ้นกับพระองค์ซึ่งเป็นน้ำใจของพระองค์ที่ประกอบด้วยพุทธภูมิธรรมอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ คือ
1. อุสสาหะ คือ เป็นผู้มีความเพียรพยายามไม่ลดละ ทรงประกอบไปด้วยความเพียรที่ติดแน่นอยู่
ในใจอย่างมั่นคง หมายความว่า เมื่อทำอะไรจะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่ มีความเพียรโดยเอาชีวิต
เป็นเดิมพัน มีใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในทำแต่กุศลกรรมเพียงอย่างเดียว มีความมานะพากเพียรในการสร้างบุญ
บารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดทุกภพทุกชาติที่เกิด จนกว่าสิ่งที่ปรารถนาไว้จะสำเร็จ โดยทรงคิดว่า “ถ้าท้อแท้
ท้อถอยในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ แล้วงานสร้างบารมีที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็น
สิ่งที่เหนือวิสัยของมนุษย์ทั่วไปจะสำเร็จได้อย่างไร
2. อุมมัคคะ คือ เป็นผู้มีปัญญาสามารถเตือนตนเองและสอนคนอื่นได้ ทรงประกอบด้วยปัญญาที่
ติดแน่นอยู่ในใจอย่างมั่นคง หมายความว่า เมื่อทำอะไรจะคิดไตร่ตรอง พิจารณาในสิ่งที่จะทำว่าถูกหรือผิด
68 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า