การออกจากพระราชวังของเจ้าชายสิทธัตถะ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 138
หน้าที่ 138 / 209

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวนี้บรรยายถึงการที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตที่จำเจในพระราชวัง จึงมีพระราชประสงค์ออกไปนอกพระราชวัง ภายใต้การนำของนายสารถี เจ้าชายได้พบเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ซึ่งทำให้พระหฤทัยต้องคิดทบทวนเกี่ยวกับชีวิตและความทุกข์ของมนุษย์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความจริงและการค้นพบทางเดินในชีวิตหลังจากนั้น.

หัวข้อประเด็น

-การออกจากพระราชวัง
-การตระหนักรู้ในชีวิต
-การพบคนแก่ คนเจ็บ คนตาย
-การตามหาความหมายในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไว้อย่างรัดกุม เพื่อที่จะมัดใจเจ้าชายไม่ให้เสด็จออกบรรพชา แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้เจ้าชายจึง พอใจและมีควาสุขกับสิ่งที่ตนเองมี ที่จำเจและไม่มีความสุขอย่างแท้จริง จึงทำให้ตัดสินพระทัยออกจากพระราชวังด้วยความเบื่อหน่ายวงจรชีวิต 5.5 บุญในตัวกระตุ้นเตือนเมื่อพบเทวทูต 4 วันหนึ่ง ทรงเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตที่อยู่แต่เพียงภายในพระราชวัง จึงทรงรับสั่งให้นายสารถี (คนขับรถม้า) พาพระองค์ออกไปจากพระราชวัง ด้วยความรักที่นายสารถีมีต่อเจ้าชาย จึงไม่ขัดใจแต่ได้ขัด คำสั่งของพระเจ้าสุทโธทนะ ระหว่างทางที่พระองค์ทรงเสด็จทรงทอดพระเนตรทรงเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน คือ คนแก่ มีผมหงอก ถือไม้เท้า เดินไม่ค่อยไหว จึงได้ตรัสถามนายสารถีว่า “นายสารถี นั่นเขาเรียกว่าตัว อะไรทำไมผมรูปร่างหน้าตาถึงเป็นแบบนั้น” นายสารถีได้กราบทูลว่า “นั่นเขาเรียกว่าคนแก่พระเจ้าข้า ถ้าข้าพระองค์มีอายุมากขึ้นผมที่เคยดำก็จะกลายเป็นสีขาว ร่างกายที่เคยแข็งแรงก็จะอ่อนแรงลง ต้องใช้ไม้เท้าช่วยค้ำยันไว้ ทุกคนก็ต้องเป็นแบบนี้พระเจ้าข้า” ภาพชายแก่คนนั้นทำให้เจ้าชายเสด็จกลับ สู่พระราชวังด้วยความสลดพระราชหฤทัย วันที่สอง ทรงเสด็จสู่พระราชอุทยานอีก ทรงทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บนอนโทรมร้องครวญคราง เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย จึงได้ตรัสถามนายสารถีว่า “คนนี้เป็นใครเขากำลังเป็นอะไร” นายสารถีได้กราบทูล ว่า “คนนี้เขาเรียกว่า คนเจ็บพระเจ้าข้า เมื่อร่างกายถูกโรคร้ายรุ่มเร้า ก็จะต้องนอนโทรมอยู่อย่างนี้” ภาพคนจ็บทำให้พระหทัยของเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จกลับสู่พระราชวังด้วยความรู้สึกหดหูมากพระราชหฤทัย มากยิ่งขึ้นกว่าวันก่อน วันที่สาม ทรงเสด็จสู่นอกพระราชวังอีก ทรงทอดพระเนตรเห็นคนตายนอนนิ่งเหมือนขอนไม้จึงได้ บทที่ 5 พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันช่วงปฐมกาล DOU 127
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More