ข้อความต้นฉบับในหน้า
มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมายที่พระวิหารเวฬุวันสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในขณะนั้นการ
ประชุมในครั้งนี้จึงเรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” เพราะประกอบพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ คือ
1. เป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. ภิกษุสาวกจำนวน 1,250 รูป เดินทางมาจากทิศทั้ง 4 มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้
นัดหมาย
3. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน
พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
4. ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ทั้งหมด
ในการประชุมครั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทพระปาฏิโมกข์ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ 1,250 รูป
ซึ่งถือว่าเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และเป็นนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อ
ให้คณะสงฆ์ยึดเป็นหลักปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. อุดมการณ์หรือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ ความอดทน พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง และ
บรรพชิตผู้ทำร้ายผู้อื่น เบียดเบียน
ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
2. หลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ
คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำ
กุศลให้ถึงพร้อม และการทำจิต
ของตนให้ผ่องใส
3. วิธีการที่จะนำไปสู่การบรรลุถึง
อุดมการณ์และหลักการดำเนินชีวิต
คือ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ความ
เป็นผู้รู้ประมาณใน ภัตตาหาร อยู่
ในที่นั่งที่นอนอันสงัด และประกอบความเพียรในอธิจิต
โอวาทปาฏิโมกข์ทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นหลักปฏิบัติและนโยบายในการเผยแผ่ของพระพุทธศาสนาที่
พระพุทธเจ้าทรงประทานให้แก่พระอรหันต์ชุดแรกที่ได้ออกไปประกาศพระศาสนาในโอกาสที่ได้มาประชุม
พร้อมเพรียงกัน เพื่อให้ถือเป็นนโยบายและหลักปฏิบัติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทางเดียวกัน
การประชุมพระอรหันตสาวกเช่นนี้ เพื่อประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ได้มีแต่ใน
ยุคของพระสมณโคดมพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในกัปนี้เท่านั้น แต่ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ในอดีต ก็ทรง
แสดง โอวาทปาติโมกข์ 1 แต่จำนวนครั้งในการประชุมภิกษุสาวกและจำนวนพระอรหันตสาวกที่เข้าร่วม
ประชุมต่างกัน จะเห็นว่า วิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรง
ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ เมื่อทรงฝึกพระอรหันต์ชุดแรก สำหรับเป็นครูและเป็นต้นแบบให้กับชาว
โลกได้จำนวนมากพอสมควรแล้วก็ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา และเมื่อคราวที่พระอรหันตสาวกเหล่านั้น
- มหาปทานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 10 ข้อ 7 หน้า 4.
บทที่ 6 พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันช่วงมัชฌิมกาล DOU 147