การบำเพ็ญเนกขัมมบารมีและศีลบารมีเพื่อพระโพธิญาณ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 66
หน้าที่ 66 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นความสำคัญของการรักษาศีลและการออกบวชเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ โดยยกตัวอย่างถึงจามรีที่รักษาขนหางและวิธีการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์พยายามหลีกหนีจากกามคุณ การหลุดพ้นจากวัฏสงสารนั้นต้องการความมุ่งมั่นในการบำเพ็ญบารมี ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ชีวิตเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สร้างคุณค่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะเนกขัมมบารมีช่วยเปิดทางสู่การสร้างบารมีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย ข้อความยังเปรียบเทียบความปรารถนาที่จะหลุดจากทุกข์เหมือนนักโทษที่ต้องการออกจากเรือนจำ นับเป็นการเสริมความเข้าใจถึงการพัฒนาตนเองสู่การบรรลุพระโพธิญาณผ่านการเพ่งพินิจและทำความเข้าใจในบทบาทของศีลและเนกขัมมบารมี

หัวข้อประเด็น

-ศีลบารมี
-เนกขัมมบารมี
-พระโพธิญาณ
-การออกบวช
-ความทุกข์และการหลุดพ้น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ 2 นี้ กระทำ ให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ จามรีหางคล้อง ติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออกไม่ได้ ก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้ง 4 จงรักษาศีลไว้ทุกเมื่อ เหมือน จามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเถิด” 3. เนกขัมมบารมี คือ การออกบวช การ หลีกออกจากกาม ซึ่งเป็นบารมีที่จะช่วยให้มีความ อิสระในการสร้างบารมีอย่างอื่นได้สะดวก เพราะ กามคุณ คือสิ่งที่ครอบงำสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ติดใน วัฏสงสาร แม้มีทรัพย์สมบัติมากและได้อัตภาพมนุษย์ แล้ว แต่ถ้าเสียเวลาไปกับเรื่องกามคุณ ก็จะทำให้ เสียเวลาและ เสียกำลังทรัพย์ที่หามาได้ไปกับกามคุณ นอกจากนี้ยังทำให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่กับเรื่องกามคุณ ทำให้สร้างบารมีได้ไม่เต็มที่และไม่สามารถที่จะหลุด ออกจากคุกแห่งความทุกข์นี้ไปได้ Class Res ดังนั้น เพื่อความสะดวกสบายเป็นอิสระ และไม่ต้องมัวกังวลใจกับเรื่องกามคุณ เพื่อจะได้ไม่เสีย เวลาและเสียกำลังทรัพย์ในการสร้างบารมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมพยายามแสวงหาทางออก จากกาม ออกจากชีวิตการครองเรือน โดยมุ่งบำเพ็ญเนกขัมมะ ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดมา ทำให้ใจ ปรารถนาที่จะออกจากคุกแห่งความทุกข์ คือวัฏสงสารนี้ อุปมาเหมือนนักโทษที่ติดอยู่ในเรือนจำ ปรารถนา จะออกจากที่คุมขังฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมปรารถนาออกไปให้พ้นจากคุก คือ การเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการบำเพ็ญเนกขัมมบารมีฉันนั้น ดังเช่นที่พระองค์กล่าวไว้เมื่อครั้งเป็นสุเมธดาบสว่า “ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจักเลือก เป็นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ คราวนั้น เรา เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ 3 ที่ท่านผู้แสวงหา คุณใหญ่แต่ในกาลก่อนๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำแล้ว ท่านจงสมาทาน เนกขัมมบารมี ข้อที่ 3 นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมม บารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ บุรุษอยู่มานานใน เรือนจำ ลำบากเพราะความทุกข์ มิได้ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำ นั้น แสวงหาความพ้นออกไปอย่างเดียว ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้ง ปวงเหมือนเรือนจำ เป็นผู้มุ่งหน้าออกบวช เพื่อพ้นจากภพนั้นเถิด” สุเมธกถา, ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 50. สุเมธกถา, ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 51. บทที่ 3 คุณสมบัติ และคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 55
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More