ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลั่งไหลลงสู่มหาสมุทรทั้งสิ้น ฉันใด มรรคมีองค์ 8 นี้ก็เป็นองค์ประชุมแห่งโพธิปักขิยธรรมทั้งปวง
อันประกอบด้วยสติปัฏฐาน 4 สัมมัปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 และโพชฌงค์ 7 ฉันนั้น
องค์มรรค 8 ประการนี้ ถ้าจะจัดโดยขันธ์ ก็อาจจะจัดได้เป็น 3 ขันธ์ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา
สังกัปปะจัดอยู่ในปัญญาขันธ์ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดอยู่ในศีลขันธ์ ส่วนสัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิจัดอยู่ในสมาธิขันธ์ อธิบายว่า ผู้เป็นอริยสาวก (สาวกพุทธะ) ก็พึ่งกำจัดอวิชชาคือ
ตัวโมหะ อันเป็นเหตุให้ลุ่มหลงเสียด้วยปัญญาขันธ์ กำจัดโทสะคือตัวพยาบาทเสียด้วยสีลขันธ์ และกำจัด
โลภะเสียด้วยสมาธิขันธ์
เพราะฉะนั้น มัชฌิมาปฏิปทาอันประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 จึงมีคุณสมบัติครบถ้วนในการ
ประหารกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ นำไปสู่ความหลุดพ้นจากอำนาจกิเลสที่ครอบงำ เข้าสู่ความเป็นพุทธะไป
ตามลำดับ
8.3 การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธะไปตามลำดับ
ดังที่กล่าวมาโดยลำดับแล้ว ในเรื่องการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธะ คือ ผู้รู้ภายใน ต้องปฏิบัติ ตาม
ทางสายกลาง อันมีข้อปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 นั้น จำเป็นต้องรวมองค์ทั้ง 7 เบื้องต้นตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ จนถึง
สัมมาสติ ด้วยสัมมาสมาธิ เพื่อให้มีกำลังในการประหาณกิเลสได้ เหมือนการใช้แว่นแก้วรวมแสงจาก
พระอาทิตย์เพื่อให้เกิดความร้อนและสามารถนำไฟที่เกิดขึ้นนั้นไปเผาสิ่งต่างๆ ได้ เช่นเดียวกัน เมื่อพลัง บริสุทธิ์
รวมหยุดเป็นจุดเดียวก็สามารถใช้ในการประหาณกิเลสได้ ดังนั้น สมาธิจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการเดินทางสู่ผู้
รู้ภายใน
จากหัวข้อที่กล่าวถึงการเข้าถึงพุทธะด้วยมัชฌิมาปฏิปทาในเชิงปฏิบัติ จะเห็นลำดับขั้นตอนของ
การดำเนินตามทางสายกลางด้วยการวางใจในกลางดวงและกาย จนถึงกายที่ละเอียดลุ่มลึกไปตามดับ
ดับกิเลสเป็นชั้นๆไปในส่วนของหัวข้อนี้จะขยายความเพิ่มเติมต่อจากหัวข้อดังกล่าวในส่วนของการเข้าถึงพุทธะ
ไปตามลำดับดังนี้
ขณะที่โยคาวจร บำเพ็ญมรรคมีองค์ 8 ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์และถูกต้องตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา
คือส่งใจเข้าไปอยู่ในตัว ตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้ว ใจจะปล่อยวางจากอารมณ์ภายนอก ครั้ง
ปฏิบัติได้ถูกส่วน ก็จะเห็นดวงใสสะอาดบริสุทธิ์เกิดขึ้น ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ดวงใสนี้เรียกว่า ดวงปฐมมรรค
หรือดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างเล็กมีขนาดเท่าดวงดาวในอากาศ อย่างกลางขนาดดวงจันทร์ใน
คืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน ดวงปฐมมรรคเกิดขึ้นจากการประชุมพร้อม
กันของมรรคมีองค์ 8 หรือเรียกว่า มรรคสมังคี ซึ่งเป็นต้นทางเดินของใจไปสู่อายตนนิพพาน
เมื่อโยคาวจรดำเนินจิตบรรลุถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ถ้าวางจิตนิ่งอยู่กับที่ จิตก็อาจจะถอนกลับมาสู่
อารมณ์ภายนอกดังเดิม ดังนั้นพระมงคลเทพมุนีจึงสอนมิให้วางจิตอยู่กับที่ แต่ให้ดำเนินจิตเข้าสู่กลางดวง
ปฐมมรรคนั้น ไม่ช้ามรรคสมังคีก็จะขยายออกกว้าง จิตก็จะดำเนินสู่ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ
ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ตามลำดับ ดวงเหล่านี้มีลักษณะซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เมื่อดำเนินจิตต่อไปอีกก็จะพบ
1
หมายถึง ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร ผู้ประกอบความเพียร ผู้เจริญภาวนา
บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 193