บารมีและการบำเพ็ญบารมี GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 73
หน้าที่ 73 / 209

สรุปเนื้อหา

บารมีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ บารมี (ระดับต่ำ), อุปบารมี (ระดับกลาง) และปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด) โดยบารมีคือการทำความดีและการบริจาคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาบารมี 30 ประการเพื่อการตรัสรู้ เมื่อสร้างบารมีจะช่วยให้มีจิตใจที่กล้าแข็งและมีคุณธรรมสูงขึ้น การฝึกปฏิบัติช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตจนถึงการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิต เช่น การวางแผนแห่งการเสียสละ การมีศีล การสร้างปัญญา และการฝึกฝนวิริยบารมี ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทางธรรมและการมีจิตใจที่สูงส่ง

หัวข้อประเด็น

-ระดับของบารมี
-การบริจาคและการเสียสละ
-การบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
-การพัฒนาคุณธรรม
-แนวทางการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บารมีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ บารมีอย่างต่ำเรียกว่า บารมี บารมีอย่างกลางเรียกว่าอุปบารมี และบารมีอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถบารมี ซึ่งอาจสรุปบารมีทั้ง 3 ระดับได้อย่างนี้ 1. บารมีที่ทรงบำเพ็ญเป็นปกติธรรมดา เช่น ในการบริจาคทรัพย์จะมากน้อยเพียงใด ก็ยังจัดเป็น บารมีในระดับที่ 1 เรียกว่า บารมี 2. บารมีที่ทรงบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เช่น บริจาคทรัพย์แล้ว ยังยอมบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อใน ร่างกาย เช่น ดวงตา จัดเป็นบารมีในระดับที่ 2 เรียกว่า อุปบารมี 3. บารมีที่ทรงบำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก เช่น บริจาคทรัพย์ บริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกายแล้ว ยังยอมบริจาคชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นการบริจาคอย่างอุกฤษฏ์ จัดเป็นบารมีประเภทสูงสุดอย่างยิ่ง เรียกว่า ปรมัตถบารมี เพราะเหตุนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงพิจารณาบารมีทั้ง 30 ประการ คือ บารมี 10 อุปบารมี 10 และปรมัตถบารมี 10 ทบทวนไปมาจนครบทั้ง 30 ประการ อุปมาเหมือนคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันจาก เมล็ดพืชหมุนกลับไปกลับมา เพื่อคั้นเอาเฉพาะน้ำมัน หรืออุปมาเหมือนเอาเขามหาเมรุให้เป็นโม่กวน มหาสมุทรในจักรวาล ฉะนั้น ซึ่งการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจดูบารมีทั้ง 30 ทัศโดยละเอียดเช่นนี้ ก็เพื่อจะกลั่นและกรองเอาเฉพาะสุดยอดหัวเชื้อบารมี ที่จะทำให้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ด้วยเหตุที่พระพุทธองค์ทรงมีความตั้งใจที่มุ่งมั่นในการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ แม้หนทางจะยาว นานเพียงใดและไม่ได้ราบเรียบสะดวกสบายเลย แต่ก็ทรงสร้างบารมีอย่างไม่ได้ย่อท้อแต่อย่างใด ตั้งแต่การ สั่งสมบุญ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ใช้ชำระสันดานให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นความประพฤติที่ดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ จนกระทั่งมีจิตใจที่กล้าแข็งขึ้น จึงได้สร้างบารมี ซึ่งหมายถึง บุญที่ทำอย่างมากด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน อย่างไม่หวั่นไหว จนบารมีครบทั้ง 30 ประการ โดยบารมีที่ทรงกระทำเริ่มตั้งแต่บารมีทั้ง 10 จนครบ 30 ประการ นั้น พอสรุปได้ในเชิงการนำมาปฏิบัติได้อย่างนี้ 1. ทานบารมี เป็นการวางแผนแห่งการเสียสละ มีอะไรหรือได้อะไรมาก็ปันกันกินปันกันใช้ กำจัด ความเห็นแก่ตัว เพื่อเตรียมเสบียงข้ามชาติ จะได้ไม่ต้องอดอยากยากจนอีก 2. ศีลบารมี เป็นการวางแผนแห่งความสำรวมระวังตน ระแวงระวังภัยไม่ให้เดือดร้อนคนอื่นและ ตนเอง ไม่รังแกหรือเบียดเบียนใคร ทำตนไม่ให้มีเวรมีภัยกับใคร เพื่อป้องกันการเบียดเบียน กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน 3. เนกขัมมบารมี เป็นการวางแผนแห่งการตัดความกังวลน้อยใหญ่และควบคุมกามคุณทั้งหลาย ไม่ให้กำเริบได้ จะได้ไม่ต้องห่วงหน้ากังวลข้างหลังด้วยการเสียสละครอบครัวไม่เป็นภาระใน การครองเรือน 4. ปัญญาบารมี เป็นการวางแผนแห่งการแสวงหาความรู้และสร้างเสริมปัญญา ฝึกการเป็น นักวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ เพื่อให้ความรู้และปัญญานั้นงอกงามจนถึงที่สุดเพื่ออาศัยปัญญานั้น กำจัดกิเลสให้หมดไปจากจิตใจของตนได้ 5. วิริยบารมี เป็นการวางแผนแห่งการฝึกหัดดัดตนจนกระทั่งมีความประพฤติปฏิบัติดีพร้อมบริบูรณ์ ทั้งกาย วาจาและใจ ใครจะตำหนิไม่ได้ โดยกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะปรับปรุง โดยมี สติสัมปชัญญะควบคุมด้วย 62 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More