ข้อความต้นฉบับในหน้า
กายเนื้อที่ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษนี้ มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา จึงมีความแก่
ความเจ็บและความตาย เหมือนบุคคลทั่วไป แต่กายนี้เป็นร่างกายของบุคคลผู้ประเสริฐสูงสุด เพราะได้ทรง
สั่งสมบ่มบารมีมาหลายภพหลายชาติจนบารมีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ จึงได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเมื่อ
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ร่างกายนี้ย่อมสูญสิ้นไป
นัยที่ 2 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระพุทธเจ้าที่อยู่ภายในร่างกายของพระองค์ ที่
พระองค์ทรงปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างตลอดต่อเนื่องในการสร้างบารมีในทุกๆ ชาติ แม้แต่ในพระชาติสุดท้าย
พระองค์ทรงสละชีวิต เพื่อให้ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ และในที่สุดพระองค์ก็ทรงได้เข้าถึงพระพุทธเจ้า
คือ ธรรมกาย หรือ กายธรรมภายใน ที่อยู่ในตัวของพระองค์และทำให้พระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าในที่สุด
ดังที่นิยามมาข้างต้น พอสรุปในความหมายที่สองได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระธรรม
กายที่อยู่ภายในร่างกายของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะที่มีกายเนื้ออันประกอบด้วยลักษณะมหา
บุรุษเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่าง
สมบูรณ์ดังมีพุทธพจน์ยืนยันไว้ว่า “ความ
เป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนัง
ร่างกาย แต่อยู่ที่ธรรม” และที่ทรง
กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า
เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็น
ธรรม”2
พระธรรมกายที่อยู่ในกายเนื้ออัน
ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษนี้ เป็น
กายนี้ไม่มีวันสูญสลายไป เมื่อใดที่
มนุษย์ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่าง
สม่ำเสมอเป็นประจำ ก็จะสามารถเข้า
ถึงกายภายใน ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ภายในกายอย่างแน่นอน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดพอจะสรุปนิยามของคำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ว่ามีความหมายอยู่ 2 นัย
ในความหมายแรก คือ ร่างกายพระสมณโคดมพุทธเจ้า เป็นกายมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยลักษณะมหาบุรุษผู้
เป็นศาสดาเอกของโลก ส่วนความหมายที่ 2 คือ กายธรรมหรือธรรมกาย หมายถึง พระธรรมกายที่ซ้อนอยู่
ภายในร่างกายของพระองค์ ที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างสมบูรณ์
หากจะกล่าวความหมายโดยสรุปจากในนัยสำคัญทั้ง 2 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระมหา
บุรุษ ผู้ประกอบด้วยกายลักษณะมหาบุรุษอันมีพระธรรมกายซ้อนอยู่ภายใน เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส
ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นครูของมนุษย์และเทวดา เป็นศาสดาเอกของโลก
จะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ บุคคลผู้มีพระคุณต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างมากมาย
อัคคัญญสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 55 หน้า 150.
วักกลิสูตร, สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, มก. เล่ม 27 หน้า 276.
30 DOU
ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า