ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประเภทที่ 1 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
ประเภทที่ 2 พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว
ประเภทที่ 3 พระสาวกพุทธะ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุพุทธะ
ดังนั้น คำว่า พุทธะ หากกล่าวโดยรวมแล้วจึงหมายถึง ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบานภายใน
ในบทเรียนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจว่า เราจะกล่าวถึงการเข้าถึงพุทธะ
อันเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในไปตามลำดับ โดยยกตัวอย่างจากการเข้าถึงของพระอัญญาโกณฑัญญะ
ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นสำคัญ เพราะท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ปฏิบัติตามคำสอนแล้วได้เข้าถึงและเป็น
พยานในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
8.2 มัชฌิมาปฏิปทาวิถีสู่ความเป็นพุทธะ
เนื่องจากชาวโลกทั้งหลายยังจมอยู่ในกองทุกข์ ทำให้ไม่เข้าใจสภาพที่แท้จริงของทุกข์
จึงทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป แม้ละโลกไปแล้วบังเกิดในสวรรค์ก็ยังคงเป็นสถานที่มีความทุกข์อยู่ดี
เพียงแต่มีสุขมากกว่าเท่านั้น และหากยิ่งตกไปสู่อบายก็ไม่ต้องพูดถึง ความทุกข์ทรมานก็ยิ่งใหญ่หลวงทับ
เท่าทวีคูณ และก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน
การที่ใครสักคนจะหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้นั้น มิใช่เรื่องง่ายเลย อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า
บุคคลที่หาทางพ้นจากทุกข์ได้ จึงถูกขนานนามว่า พุทธะ คือ ผู้ค้นพบทางสายกลางเพื่อความหลุดพ้น หรือ
อีกนัยหนึ่ง คือ ผู้ปฏิบัติตามเส้นทางสายกลางจนไปสู่ความหลุดพ้นได้ในที่สุด
ให้นักศึกษาย้อนกลับไปตอนที่สมณะสิทธัตถะขณะที่ทรงค้นหาหนทางที่จะพ้นทุกข์ พระองค์ทรง
เลือกวิธีการแสดงหาการดับทุกข์ด้วยการกระทำทุกกรกิริยา ทรมานตนเองอย่างอุกฤษฏ์ด้วยวิธีการต่างๆ ตาม
อย่างนักบวชที่นิยมทำกันในสมัยนั้น เพียงเพื่อทดลองให้ถึงที่สุดว่าหนทางสายนี้ช่วยให้พระองค์ทรงพ้นไป
จากความทุกข์ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ใช่ทางที่จะนำพาพระองค์ให้พ้นไปจากความทุกข์ได้ และอีกเช่นกัน
ก่อนหน้าที่พระองค์จะทรงออกผนวช พระองค์เป็นบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้ง 5 หาผู้ใดเสมอเหมือน
มิได้ ชีวิตอยู่อย่างสุขสบายทุกอย่าง ไม่มีเรื่องใดให้ต้องทุกข์ร้อนใจ แม้จะพรั่งพร้อมอย่างนั้นก็ไม่ช่วยให้
พระองค์พ้นจากความทุกข์ได้ จนกระทั่งเมื่อพระองค์ทรงละจากวิธีการทรมานตนเอง ทรงได้เสียงพิณ 3
สายที่บรรเลงแว่วมาสายที่หนึ่งขึงตึงเกินไปดีดไม่นานสายก็ขาด สายที่สองจึงหย่อนเกินไปดีดเท่าไรก็ไม่มีเสียง
สายที่สามจึงได้พอดี ดีดได้ไพเราะจับใจ ทำให้พระองค์นึกถึงความพอดี คือ ความเป็นกลางๆ หรือข้อปฏิบัติ
อันเป็นกลางๆ หรือที่เรารู้จักกันว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”
ในที่สุดพระองค์ก็ทรงค้นพบทางพ้นทุกข์ด้วยการดำเนินตามเส้นทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทา
จนกระทั่งได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ในหัวข้อต่อไปนี้ นักศึกษา
จะได้ทำความเข้าใจในเรื่องข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นพุทธะ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยนำเอาเนื้อหา
สาระสำคัญของธรรมจักกัปปวัตตนสูตรมาเป็นบทวิเคราะห์ เพราะเป็นปฐมเทศนาที่มีความสมบูรณ์ในตัว เมื่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ ก็ได้มีผู้รับฟัง คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ท่านได้ตรองตาม เนื้อ
บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 181