ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. คำว่า พุทธะ หมายถึง ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานภายใน แบ่งตาม
อรรถกถาที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกแล้ว ท่านแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกพุทธะ
2. การปฏิบัติสู่ความเป็นพุทธะ คือ การปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ข้อ
ปฏิบัติสายกลางเพื่อความหลุดพ้น อันประกอบด้วยองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มรรคมีองค์ 8 ประการนี้ ย่อม
บังเกิดในภูมิทั้ง 4 คือ กามาพจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ เมื่อบังเกิดในโลกุตตรภูมิ
ก็ได้ชื่อว่าโลกุตตรมรรค เมื่อบังเกิดในกามาพจรภูมิก็ได้ชื่อว่าโลกิยมรรค โลกิยมรรค ได้แก่การ
สั่งสมความดี มีทาน ศีล ภาวนา ส่วนโลกุตตรมรรค คือ ใช้สมาธิเป็นตัวรวบรวมองค์มรรคทั้ง 7 ให้
มีกำลังในการกำจัดกิเลส เรียกว่า มรรคสมังคี และการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ในเชิงปฏิบัตินั้น
หมายถึง การส่งใจเข้าไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เราจะหาศูนย์กลางกายของเราได้โดย
จินตนาการว่าขึงเส้นด้ายสองเส้น เส้นหนึ่งซึ่งจากสะดือตรงไปทะลุสันหลัง อีกเส้นหนึ่งจากสีข้าง
ด้านซ้ายตรงไปทะลุด้านขวา ณ จุดที่เส้นด้ายตัดกันซึ่งขนาดเล็กเท่ากับปลายเข็ม คือ ศูนย์กลาง
กายฐานที่ 6 เหนือจุดตัดขึ้นมาสองนิ้วมือ คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
3. ผู้ใดเจริญมรรคมีองค์ 8 ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และถูกต้องตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาแล้วใจก็ว่างเว้น
จากความยินดียินร้ายทั้งปวง มีแต่ความวางเฉยที่มีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วยสติปัญญา จะเข้าถึง
ดวงปฐมมรรคหรือ ดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ดำเนินจิตเข้าสู่กลางดวงปฐมมรรคไม่ช้า
มรรคสมังคีก็จะขยายออกกว้าง จิตก็จะดำเนินสู่ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง
วิมุตติญาณทัสสนะ ตามลำดับ ดวงเหล่านี้มีลักษณะซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เมื่อดำเนินจิตต่อไปอีกก็
จะพบกายในกาย ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ให้ตามเห็นกายใน
กายเข้าไปเรื่อยๆ กายต่างๆ ตั้งแต่กายที่เป็นโลกิยะยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ ได้แก่ กายมนุษย์ละเอียด
กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหม
ละเอียด ส่วนกายธรรมนั้นมิได้ตกอยู่ในไตรลักษณ์ จึงเรียกว่า ธรรมขันธ์ ด้วยเหตุว่า เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ อันมีอยู่ในกายธรรมนั้น ถูกกลั่นจนใสสะอาดบริสุทธิ์ กระนั้นก็ตามธรรมกาย
ยังถูกจำแนกออกเป็นหลายระดับด้วยกัน ด้วยเหตุว่ามีความบริสุทธิ์ต่างกัน
กายธรรมระดับต้นที่สุด ซึ่งอยู่ถัดจากกายอรูปพรหมละเอียดเข้าไปนั้น คือ กายธรรมโคตรภู ถัด
ไปเป็นกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระโสดาบันละเอียด กายธรรมพระสกิทาคามี
กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอนาคามีละเอียด กายธรรมพระอรหัต
กายธรรมพระอรหัตละเอียด รวมทั้งสิ้น 10 กายด้วยกัน
บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 177