มรรคทั้ง 8 ประการ: เส้นทางสู่การเป็นพุทธะ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 200
หน้าที่ 200 / 209

สรุปเนื้อหา

มรรคทั้ง 8 ประการ เป็นแนวทางที่สำคัญในการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า โดยแต่ละข้อมีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างกุศลและการพัฒนาจิตใจ สำหรับคนที่ต้องการเข้าถึงความเป็นพุทธะ การปฏิบัติตามมรรคทั้ง 8 ด้วยการคำนึงถึงการทำดี มีทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา จะช่วยให้บรรลุถึงอานิสงส์สามประการได้ ในการทำกุศล ผู้ปฏิบัติต้องมีสัมมาทิฏฐิ ที่แสดงถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการสร้างกุศลกรรม และการทำ กุศลไปพร้อมกันกับการระลึกถึงจิตใจที่ตั้งมั่น เพื่อมุ่งมั่นต่อการพัฒนาและปฏิบัติตนเพื่อความเป็นพุทธะซึ่งบรรจุอยู่ในทุกการกระทำในชีวิต. สุดท้าย, การเข้าใจและปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา จะพิสูจน์ว่าการทำเช่นนี้มีผลดีต่อทั้งตนเองและสังคม.

หัวข้อประเด็น

-มรรคทั้ง 8
-การปฏิบัติตน
-การสร้างกุศล
-สัมมาทิฏฐิ
-มัชฌิมาปฏิปทา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สรุป มรรคทั้ง 8 ประการนั้น เป็นปัจจัยเกื้อกูลกันจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้ ในเชิงทฤษฎีสามารถนำ ไปสู่การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นรูปธรรมได้ด้วยการสั่งสมความดีมีทาน ศีล ภาวนา เพื่อสะสมให้ ควบแน่นยิ่งขึ้นไป โดยจะพิจารณาเห็นเป็นหลักการตามนี้ว่า เมื่อบุคคลสร้างกุศลกรรม มีทานและศีล เป็นต้น จะก่อให้เกิดอานิสงส์ได้สมบัติ 3 ประการ เมื่อบุคคลมีปัญญาหยั่งรู้เช่นนี้แล้ว ก็จัดได้ว่า มีสัมมาทิฏฐิบังเกิด ในสันดาน บุคคลผู้มีความดำริที่จะสร้างกุศลกรรม มีทานและศีล การมีความดำริที่จะเว้นจากวจีทุจริต กาย- ทุจริต และมิจฉาอาชีวะ ในขณะที่บำเพ็ญกุศล ย่อมได้ชื่อว่าสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ การ มีความดำริพากเพียรในการสร้างกุศลกรรม ย่อมได้ชื่อว่า สัมมาวายามะ บังเกิดขึ้นในสันดาน การมีความ คิดที่คอยระลึกถึงการสร้างกุศลกรรมอยู่เป็นนิจกาล ได้ชื่อว่า สัมมาสติ บังเกิดขึ้นในสันดาน ความคิดที่จะ ยังจิตให้ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตา ย่อมได้ชื่อว่า มีสัมมาสมาธิ บังเกิดในสันดาน มรรคมีองค์ 8 ประการนี้ ย่อมบังเกิดในภูมิทั้ง 4 คือ กามาพจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ โลกุตตรภูมิ เมื่อบังเกิดในโลกุตตรภูมิ ก็ได้ชื่อว่าโลกุตตรมรรค เมื่อบังเกิดในกามาพจรภูมิก็ได้ชื่อว่าโลกิยมรรค มรรคอันเป็นโลกีย์นั้น คือ สัตบุรุษผู้มีศรัทธาสร้างกุศลอันประกอบด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และสดับฟังพระธรรมเทศนาเป็นสำคัญ หมายความว่า ถ้าบุคคลบำเพ็ญทาน รักษาศีล บำเพ็ญเพียรภาวนา และสดับฟังพระธรรมเทศนาเวลาใด เวลานั้นก็ได้ชื่อว่า บำเพ็ญมรรคมีองค์ 8 ทั้งนี้เพราะมรรคทั้ง 8 ประการนี้เกิดขึ้นด้วยการทำกุศลทั้งปวงนั้นๆ ทุกครั้ง 8.2.3 มัชฌิมาปฏิปทาในทางปฏิบัติ มัชฌิมาปฏิปทาที่กล่าวถึงในหัวข้อ 8.2.2 นั้น เป็นเรื่องของภาคทฤษฎีที่ทำให้เราได้เข้าใจความหมาย ของมรรคมีองค์ 8 ได้ในระดับหนึ่ง แต่ในเชิงปฏิบัตินั้น พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้ปรารภไว้ในพระ ธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงไว้เมื่อวัน ที่ 3 มกราคม 2498 ว่า เรื่องกลางนี้เป็นเรื่องลึกซึ้งยิ่ง นัก ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเข้าใจกันเลย แท้จริงแล้วธรรมที่ เรียกว่า ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้น หมายถึง การส่งใจ เข้าไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ศูนย์กลางกายของเราได้โดยจินตนาการว่าขึงเส้นดาย สองเส้น เส้นหนึ่งซึ่งจากสะดือตรงไปทะลุสันหลัง อีก เส้นหนึ่งจากสีข้างด้านซ้ายตรงไปทะลุด้านขวา ณ จุดที่ เส้นด้ายตัดกันซึ่งขนาดเล็กเท่ากับปลายเข็ม คือ ศูนย์กลาง กายฐานที่ 6 เหนือจุดตัดขึ้นมาสองนิ้วมือ คือ ศูนย์กลาง กายฐานที่ 7 เราจะหา * ทตตชีโว ภิกขุ, ธรรมจักกัปปวัตนสูตร, หน้า 134. ภาพแสดงที่ตั้งจิตทั้ง ๗ ฐาน ขายข้าว ฐานที่ ๑ ปากช่องจมูก (นางข้างซ้าย ( หญิงบ้างซ้าย ด ฐานที่ ๒ เหลาคา ขายร้านวา ฐานที่ ๓ จอมประสาท รานที่ ๔ องเท น ฐานที่ ๕ ปากช่อง คอ ฐานที่ ๗ ศูนย์กลางกายที่ตั้งจิตถาวร ฐานที่ 5 ศูนย์กลางกายระดับสะดือ บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 189
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More