สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะในพระพุทธศาสนา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 196
หน้าที่ 196 / 209

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงหลักธรรมของสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะซึ่งเป็นการดำรงชีวิตที่ถูกต้องในพุทธศาสนา สัมมาวาจาประกอบด้วยการงดเว้นการพูดที่ไม่ดี 4 ประการ ส่วนสัมมากัมมันตะเกี่ยวกับการกระทำที่ชอบ และสัมมาอาชีวะซึ่งเน้นการมีอาชีพที่ถูกต้องและไม่หลอกลวง การอ้างอิงจากพระพุทธพจน์ช่วยชี้ให้เห็นว่าการพูดและการกระทำมีความสำคัญต่อการพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นพุทธะ

หัวข้อประเด็น

-หลักการสัมมาวาจา
-หลักการสัมมากัมมันตะ
-ความสำคัญของการพูดและการกระทำ
-การมีอาชีพที่ถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย การเว้นการพูดเท็จ เว้นการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา เหตุไฉนจึงทรงสอนให้เว้นทุจริต คือ การพูดไม่ดี 4 อย่าง ทำไมไม่ทรงสอนให้พูดอย่างนั้นอย่างนี้ จึงจะเป็นสัมมาวาจา” สัมมาวาจานั้น ได้แก่วจีสุจริต 4 ประการ คือ 1. มุสาวาทา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการโกหก มายา ล่อลวง สับปรับ ให้ผู้อื่นเสียทรัพย์สิน สิ่งของ 2. ปิสุณาวาจา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการกล่าววาจาส่อเสียด ให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนใจ ให้เคืองแค้นขัดใจ ให้ได้รับความฉิบหาย 3. ผรุสวาจา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการกล่าววาจาหยาบคาย 4. สัมผัปปลาปวาจา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการกล่าวคำตลกคะนอง เพ้อเจ้อ ไร้สาระ 4. สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ มีพระพุทธพจน์เป็นอุทเทสดังนี้ “กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมากมฺมนฺโต ยา โข ภิกฺขเว ปาณาติปาตา เวรมณี, อทินนาทานา เวรมณี อย์ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมากมฺมนฺโต” แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายงดการเว้นจากปาณาติบาต เว้นจาก อทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ)” สัมมากัมมันตะนั้น ได้แก่ กายสุจริต 3 ประการ คือ 1. ปาณาติบาตา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ถึงตาย 2. อทินนาทานา เวรมณี หมายถึง เว้นจากการลอบลักทรัพย์ของผู้อื่น หรือการถือเอาของของ ผู้อื่นมาเป็นของตน โดยที่เจ้าของมิได้อนุญาต 3. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี หมายถึง เว้นจากการประพฤติผิดในกามต่อบุตรภรรยาหรือสามี ของผู้อื่น 5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัมมาอาชีวะ มุ่งเน้นถึงพระสาวกในบวรพุทธศาสนานี้ พึงปฏิบัติตน ละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพโดยมิชอบธรรม ประกอบด้วยอเนสนา คือ หลอกลวงด้วยการอวด อุตริมนุสสธรรม ออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อลาภด้วยลาภ คือ ให้แต่น้อย เพื่อ หวังผลตอบแทนมาก เป็นหมอเวทมนตร์เสกเป่า เป็นหมอรักษาโรค เป็นต้น แม้ไม่ได้เป็นนักบวช แต่เป็นผู้ที่นับถือพระรัตนตรัยแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านยังทรงตรัสว่า “อุบาสก ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่ควร ทำการค้าขาย 5 อย่างคือ บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 185
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More