พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 156
หน้าที่ 156 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผ่านการสนทนากับอุรุเวลกัสสปะ และการยอมรับของพระเจ้าพิมพิสารและคหบดีต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างความเข้าใจและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา รวมถึงการถวายมหาทานและการสร้างวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-พุทธประวัติ
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-บทสนทนาระหว่างพระอุรุเวลกัสสปะและพระพุทธเจ้า
-ความสำคัญของพระเจ้าพิมพิสาร
-การถวายมหาทานและการสร้างวัดแรก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อายตนะภายนอก 6 ว่าเป็นของร้อน เพื่อให้เหมาะกับอัธยาศัยของชฎิล 3 พี่น้อง เมื่อจบพระธรรมเทศนา แล้ว ชฎิล 3 พี่น้องและบริวารก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด เมื่อพระพุทธเจ้าได้โปรดชฎิลทั้ง 3 พี่น้องแล้ว ก็ได้เสด็จไปเมืองราชคฤห์พร้อมด้วยชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง และบริวาร เพื่อทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารและเหล่าพราหมณ์คหบดี ชาวเมืองมคธ ซึ่งต่าง ก็มีความสงสัยว่า สัมพุทธเจ้าทรง ทราบความคิดของพราหมณ์คหบดีเหล่านั้น ด้วยพระประสงค์จะโปรดให้มีความเข้าใจที่ถูก ต้องจึงได้ตรัส ถาม อุรุเวลกัสสปะว่า “ดูก่อน ท่านอุรุเวลกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิล ท่าน เห็นอย่างไรจึงได้ละการบูชาไฟ” พระอุรุเวลกัสสปได้กล่าวตอบไปว่า “ยัญทั้งหลายกล่าวยกย่อง รูป เสียง กลิ่น และรสที่น่าปรารถนา และสตรีทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าได้รู้ว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นมลทินในอุปธิทั้งหลายแล้ว เพราะ เหตุนี้ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวงในการบูชา” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามอีกว่า “ดูก่อนกัสสปะ ใจของท่านไม่ยินดีแล้วในอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น และรสเหล่านั้น ดูก่อนกัสสปะ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ท่านยินดีในเทวโลกหรือมนุษยโลก” พระอุรุเวลกัสสปตอบว่า “ข้าพระพุทธเจ้า ได้เห็นทางอันสงบ ไม่มีอุปธิ ไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นแนะให้ บรรลุ เพราะฉะนั้นจึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวงในการบูชา” และในทันใดนั้นเองพระอุรุเวลกัสสปลุกจากอาสนะ ซบเศียรลงที่พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น ศาสดา ของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้พระเจ้าพิมพิสารและ คหบดีทราบว่า บัดนี้ผู้เป็นอาจารย์ของตนได้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา จึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างอุรุเวลกัสสปะกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใครเป็นอาจารย์ของใครกันแน่ พระสัมมา เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ พระพุทธองค์จึงเริ่มแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 ทำให้พระเจ้าพิมพิสาร และบริวารจำนวน 11 นหุต มีดวงตาเห็นธรรม ส่วนบริวารอีก 1 นหุตนั้น ตั้งมั่นอยู่ในไตรสรณคมน์ หลัง จากที่พระเจ้าพิมพิสารและบริวารเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ได้บำรุงพระพุทธองค์และ พระสาวกด้วยการถวายมหาทานครั้งยิ่งใหญ่เลี้ยงพระจำนวนหนึ่งพันรูป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และด้วยความปรารถนาที่จะให้พระพุทธศาสนาไปสู่ใจของมหาชน นอกจากนี้ยังเป็นห่วงถึงที่ประทับของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ถวายป่าไผ่เวฬุวันให้เป็นอาราม ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกใน พระพุทธศาสนา การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังอุรุเวลาเสนานิคมนี้ ก็ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ เพื่อจะทรงเปลื้อง ปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้กับพระเจ้าพิมพิสารตั้งแต่เมื่อครั้งที่เสด็จออกทรงผนวช และเพื่อจะปดิษฐานพระพุทธ ศาสนาให้มั่นคงถาวรในเมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ทั้งยังเป็นที่รวมอยู่ของนักบวชเจ้าลัทธิ มากมายในยุคนั้น แต่การที่จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรอยู่ในราชคฤห์ซึ่งมีศาสนาอื่นอยู่ก่อน นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประชาชนในเมืองล้วนนับถือเจ้าลัทธิต่างๆ กันมาก ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเทศนา สั่งสอนพวกเจ้าลัทธิเหล่านั้นให้เกิดความเลื่อมใสพระพุทธองค์ก่อน โดยเฉพาะอุรุเวลกัสสปะซึ่งถือว่า เป็นอาจารย์ใหญ่ที่สุด แม้กระทั่งพระเจ้าพิมพิสารยังให้ความเคารพนับถือ ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปโปรดอุรุเวลกัสสปะให้เลื่อมใสก่อน ก็จะทำให้พระพุทธศาสนา ปัพพชาสูตรที่ 1, ขุททกนิกาย สุตตนิบาต, มก. เล่ม 47 หน้า 392. บทที่ 6 พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันช่วงมัชฌิมกาล DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More