สัมมาสติ: การระลึกชอบในพุทธศาสนา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 198
หน้าที่ 198 / 209

สรุปเนื้อหา

สัมมาสติ หมายถึง การระลึกชอบในพุทธศาสตร์ ซึ่งได้รับการอธิบายว่าเป็นการระลึกในสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อการเข้าใจและไม่หลงในสิ่งเหล่านั้น สติปัฏฐาน 4 ถูกยกย่องในพระบาลีว่าเป็นทางสู่ความบริสุทธิ์ของสัตว์เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์และบรรลุนิพพาน ถ้าศึกษาในแต่ละข้อ จะเห็นการพิจารณาตนเองในระดับต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยการเห็นกายในกาย ความรู้สึก (เวทนา) ของจิต และความรู้ในธรรม ที่ต้องพิจารณาอย่างต่อเนื่องเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง. หลักการนี้จะช่วยให้เข้าใจและปฏิบัติตนตามพุทธศาสนาได้ดีขึ้นผ่านการนำเสนอของพระมงคลเทพมุนี

หัวข้อประเด็น

-สัมมาสติ
-สติปัฏฐาน 4
-พุทธศาสนา
-การตั้งสติ
-กายานุปัสสนา
-เวทนานุปัสสนา
-จิตตานุปัสสนา
-ธัมมานุปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7. สัมมาสติ คือ การระลึกชอบ มรรคข้อนี้ ในพระบาลีมัคควิภังคสูตร อธิบายว่า การระลึกในสติปัฏฐาน 4 คือระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ให้รู้ตามเป็นจริง เพื่อไม่หลงในสิ่งเหล่านั้น เพื่อเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องของกาย เรื่องของความรู้สึก เรื่องของจิต และเรื่องของธรรมที่เกี่ยวกับจิต กล่าวคือ ปรากฏการณ์อันเกิดขึ้นกับจิต ให้รู้ว่าอย่างไหน ทำให้จิตเสื่อม อย่างไหนทำให้จิตเจริญ สติปัฏฐาน 4 นี้พระพุทธเจ้าทรงยกย่องมาก ทรงยกย่องไว้ตั้งแต่เริ่มต้นของสติปัฏฐานสูตรว่า “เอกายโน อยู๋ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทธิยา” เป็นอาทิ แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก มีอยู่เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย (ผู้เดินไป) เพื่อล่วงพ้น หรือข้ามแดนแห่งความโศกความคร่ำครวญ รำพัน เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ น่ารู้ และเพื่อทำนิพพานให้แจ้งทาง ดังกล่าวนี้คือสติปัฏฐาน 4 สัมมาสติ ความหมายในเบื้องต่ำ หมายถึง สติที่ระลึกนึกคิดในเรื่องบุญ เป็นต้นว่า คิดที่จะบำเพ็ญทาน รักษาศีล ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ระลึกถึงผู้มีพระคุณ เช่น บิดา มารดา ครูอาจารย์ เป็นต้น ส่วนสัมมาสติ ความหมายโดยเบื้องสูงหมายถึง การบำเพ็ญสติปัฏฐาน ดังที่กว่ามาแล้วข้างต้น อันได้แก่การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามสภาวะที่สิ่งนั้นเป็น อยู่ตามปกติมี 4 ประการ ในการอธิบายความหมายของสติปัฏฐาน 4 จะขอนำพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนีมาประกอบการอธิบายขยายความ เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น กายานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ คือ การเห็นกายต่างๆ ซึ่งซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์นี้ นับตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน จนกระทั่งถึง กายธรรมระดับต่างๆ เวทนานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่เนืองๆ การพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนานี้ ในระดับต้นนั้น คือ การเห็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ของกายในกายที่ซ้อนกันอยู่ เวทนาภายนอกคือเวทนาของกายมนุษย์ เวทนาภายใน คือ เวทนาของกายภายใน ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด เข้าไปตามลำดับ จิตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่เนืองๆ การพิจารณาเห็น จิตในจิตอยู่เนืองๆ หมายถึง การรู้ชัดถึงสภาวะจิตตลอดเวลา เช่น ถ้าจิตระคนด้วยราคะ หรือ โทสะ หรือ โมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตระคนด้วยกิเลสอย่างใด หรือถ้าจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น ไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น จิตภายนอก คือ จิตของกายมนุษย์ ส่วนจิตภายใน คือ จิตของกายภายใน นับแต่กายมนุษย์ละเอียดเป็นต้น ไป ธัมมานุปัสสนา คือ การพิจารณาธรรมภายในและภายนอกอยู่เนืองๆ การพิจารณาเห็นธรรมภายใน คือ เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายภายในต่างๆ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดเข้าไปตามลำดับ ส่วนการพิจารณา เห็นธรรมภายนอกนั้นคือ เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ หากปราศจากดวงธรรมเหล่านี้เสียแล้ว กายต่างๆ ก็มิอาจดำรงอยู่ได้ บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 187
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More