ความดำริที่ควรมีในชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 195
หน้าที่ 195 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงแนวทางในการดำรงชีวิตที่ปราศจากความพยาบาทและการเบียดเบียน ผู้อ่านจะได้รับรู้ถึงความหมายของความไม่พยาบาทและโทษของมัน รวมถึงคุณค่าที่เกิดจากการไม่เบียดเบียน ซึ่งสร้างความสงบสุขในจิตใจ การให้อภัยและการหยุดยั้งความเจ็บปวดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นถือเป็นวิถีทางตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อทำให้โลกนี้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความไม่พยาบาท
-คุณค่าของความไม่พยาบาท
-การให้อภัย
-ความไม่เบียดเบียน
-คุณค่าของความไม่เบียดเบียน
-สัมมาวาจา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เครื่องร้อยรัดทั้งปวง (โยคุกเขม) ย่อมรู้สึกตนว่าได้ประสบภาวะใหม่ ชีวิตใหม่ อยู่ในโลกใหม่อันเรืองรอง ด้วยปัญญา ได้พบความจริงว่า โลกใหม่นี้ดีกว่า สะอาดกว่า มีความสุขกว่าโลกเก่าเป็นอันมาก 2. ความดำริในความไม่พยาบาท (อัพยาปาทสังกัปปะ) ก. ความหมายของความไม่พยาบาท คือ ความปองร้าย มุ่งให้ผู้อื่นถึงความพินาศ เช่น คิดอยู่ในใจ ว่า เมื่อไรหนอคนนั้นจะถูกรถชนตาย ตกน้ำตาย ถูกฆ่าตาย ทรัพย์สมบัติพินาศ หรือถูกปล้น อย่างนี้แหละ เรียกว่า ความพยาบาท ความไม่พยาบาท คือ ความไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น ไม่ปรารถนาร้ายแก่เขา กล่าวอย่าง สั้นว่ามีความปรารถนาดีแก่เขา ข. โทษของความพยาบาท ความพยาบาทเป็นไฟภายในอย่างหนึ่งที่มีอานุภาพเผาลนจิตใจของผู้ สั่งสมมันไว้ ยิ่งมากเท่าใดก็จะยิ่งเผาเจ้าตัวให้เร่าร้อนมากเท่านั้น เมื่อออกจากตนเองก็ไปเผาคนอื่นให้เร่าร้อน สังคมเร่าร้อน ค. คุณของความไม่พยาบาท ผู้มีปัญญาเห็นแจ้งดังนี้ จึงได้ดำริในการไม่พยาบาท คืออยู่ด้วยการ ให้อภัยในชีวิต ในทรัพย์สิน และในความรู้สึกของผู้อื่น คือไม่ทำลายชีวิต ไม่ทำลายทรัพย์สิน และความ ทำลายความรู้สึกของคนอื่น การให้อภัยจึงเป็นทานอันยิ่งใหญ่ อย่างหนึ่งเรียกว่า อภัยทาน ซึ่งเป็นทางดำเนินของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ 3. ความดำริในการไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปปะ) ก. ความไม่เบียดเบียน คือการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อความสุขหรือเพื่อประโยชน์ของตน มีสาเหตุมาจากความโลภบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง ต่างกับความพยาบาทตรงที่ว่าพยาบาท นั้นเป็นการผูกเวรจองเวร ผูกใจเจ็บกระทำตอบแก่ผู้ที่ทำตนก่อน ส่วนความเบียดเบียนนั้น อาจทำได้ แม้แก่ผู้ที่ไม่เคยทำอะไรให้ตนเดือดร้อน ข. โทษของการเบียดเบียน โลภ โกรธ หลง เป็นอกุศลมูล คือ ต้นตอหรือต้นเหตุแห่งความชั่ว บุคคลย่อมเบียดเบียนผู้อื่นเพราะมี โลภ หรือโกรธ หรือหลง อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในใจ หรือเพราะทั้ง 3 อย่างรวมกัน เมื่อคิดเบียดเบียนเขา ใจของตนก็เศร้าหมองเร่าร้อนเป็นทุกข์ นี่ก็จัดเป็นการเบียดเบียน ตนเองให้ทุกข์ก่อนแล้วจึงยังความทุกข์นั้นไปสู่คนรอบข้างโดยทางตรง ส่วนทางอ้อมตัวเราก็เบียดเบียน ตนเองไปแล้ว ค. คุณของความไม่เบียดเบียน ทำให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน เห็นซึ้งลงไปในความทุกข์ของผู้อื่น ความรู้สึกอันนั้นย่อมฉาบทามาที่ใบหน้า แววตา เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเข้าหา และมีความรักใคร่ใยดี เคารพนับถือ มีความสุข ความปราโมทย์เมื่อได้พบเห็น แม้ผู้มีใจกระด้างเมื่อได้สัมผัสกับความกรุณาของ บุคคลเช่นนั้น ก็คลายความกระด้างลงกลายเป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน ควรแก่การปลูกฝังคุณธรรมอื่นๆ ลงไป 3. สัมมาวาจา คือ การพูดชอบ มีพระพุทธพจน์เป็นอุทเทสดังนี้ “กตมา จ ภิกฺขเว สมมาวาจา ยา โข ภิกฺขเว มุสาวาทา เวรมณี, ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ผรุสาย วาจาย เวรมณี สมุผปปลาปาเวรมณี อย์ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาวาจา” 184 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More