ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน
อย่างนี้แล”1
ยังมีอีกอุปมาหนึ่งใน สาสปสูตร” ว่า “นครที่ทำด้วยเหล็กยาวหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์ สูง
หนึ่งโยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ด
พันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น
พึงถึงความสิ้นไปหมดไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไปหมดไป
กัปนานอย่างนี้แล”
5. กาลเวลาที่เรียกว่า อันตรกัป คือ ระยะเวลา 1 รอบอสงไขยปี หมายความว่าระยะเวลาที่กำหนด
นับจากอายุมนุษย์ที่ยืนที่สุด คือ 1 อสงไขยปี แล้วอายุค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือ 10 ปี จากนั้นก็ค่อยๆ
เพิ่มขึ้นไปอีกครั้งจนถึง 1 อสงไขยปีอีกครั้ง เวลา 1 รอบของการเพิ่มและลดของอายุมนุษย์นี้เรียกว่า
อันตรกัป
6. กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขยกัป คือ ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของโลก ตั้งแต่เป็นความว่าง
อันเกิดจากการแตกทำลายจนเจริญและย้อนกลับมาแตกทำลายอีกครั้ง ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของโลก
มีทั้งหมด 4 ช่วง หรือ 4 อสงไขยกัป แต่ละช่วงมี 64 อันตรกัป ดังนั้นช่วงความเปลี่ยนแปลงของโลกจึง
รวมเวลาเป็น 256 อันตรกัป คือ
ช่วงที่ 1 เป็นช่วงที่ถูกไฟไหม้ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลาย
หรือกับกำลังพินาศ ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ไฟมอด มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึงช่วงที่โลกถูกทำลาย
เรียบร้อยแล้ว จนเหลือแต่อวกาศว่างเปล่า ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่แผ่นดินเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลก
กำลังเริ่มพัฒนาเข้าสู่ภาวะปกติหรือกัปที่เจริญขึ้น ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
ช่วงที่ 4 เป็นช่วงที่โลกเจริญขึ้น มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้น มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็น
ช่วงที่โลกพัฒนาขึ้นเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม หรือกัปที่เจริญขึ้นพร้อมแล้วทุกอย่าง ตั้งอยู่ตามปกติใช้เวลาถึง
64 อันตรกัป
หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็อาจจะสมมุติมหากัปเหมือนเล็ก 1 ก้อน ในหนึ่งก้อนแบ่งออกเป็น
4 ส่วนเท่าๆ กัน คือ ระยะเวลา 4 อสงไขยกัป และในแต่ละชิ้นก็มีระยะเวลาเท่ากับ 64 อันตรกัป คือ สังวัฏฏ
อสงไขยกัป สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป วิวัฏฏอสงไขยกัปและวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป และใน 1 มหากัปนั้น
เมื่อรวมทั้ง 4 ช่วงระยะเวลา จึงมีทั้งหมด 256 อันตรกัป
ทั้งหมดที่อธิบายมานี้ เป็นหน่วยเวลาที่มีปรากฏในพระพุทธศาสนา ที่จะทำให้นักศึกษาสามารถ
เห็นภาพในการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก โดย
อย่างน้อยที่สุด คือ 20 อสงไขยกับแสนมหากัป ที่จะต้องใช้ความอดทน ความมุ่งมั่นตั้งใจ ตลอดจนกำลังใจ
ปัพพตสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 หน้า 514.
สาสปสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 หน้า 515-516.
40 DOU
ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า