ความรู้แจ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 38
หน้าที่ 38 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เริ่มต้นด้วยการสรุปความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเผยแพร่ต่อทั้งมนุษย์และเทวดา เน้นว่าพระองค์เป็นผู้รู้แจ้งในทุกสิ่ง ทำให้ทรงสามารถชี้นำสรรพสัตว์ไปสู่การหลุดพ้นได้ โดยมีการสอนตามความเหมาะสมกับบุคคลและสภาพแวดล้อม ใช้ความกรุณาในการฝึกสอนและส่งเสริมการปฏิบัติธรรม เพื่อให้ทุกคนบรรลุถึงนิพพาน ทั้งยังสอดแทรกคุณธรรมและหลักการที่สามารถรับรู้ได้ โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขที่ซับซ้อน พระพุทธองค์คือบรมครูที่ไม่มีวันหมดแรงในการสอนสั่งให้กับสรรพสัตว์ทุกชนิด ทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-ความรู้แจ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การสอนเพื่อการบรรลุนิพพาน
-วิธีการเผยแพร่ธรรม
-บทบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อเทวดาและมนุษย์
-การใช้ความกรุณาในการสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาศัยอยู่นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงสรุปได้ว่า “โลกทั้งโลกก็คือคุกขังสรรพสัตว์” ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จึงทำให้พระพุทธองค์ ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ชื่อว่าความลับไม่มีในโลกใบนี้สำหรับพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงชื่อว่า โลกวิทู หมายถึง ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก เพราะเหตุที่พระพุทธองค์ สั่งสมบารมีมาอย่างยาวนาน จนทำให้พระพุทธองค์เกิดปัญญาแทงตลอด สามารถรู้ในทุกสิ่งได้ ไม่มีอะไรจะ มาปิดบังพระองค์ได้เลย จึงทำให้ความรู้แจ้งทุกอย่างในโลกก็เกิดขึ้นตามมาได้ในที่สุด ประการที่ 6 อนุตตโร ปุริสทัมมสารถี หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเหมือนสารถีผู้ ฝึกสอนคนเป็นอย่างดี จะหาผู้อื่นเสมอเหมือนไม่ได้ โดยสอนให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ เพราะพระพุทธองค์ ทรงฝึกโดยไม่ต้องใช้อาชญา แต่พระองค์ทรงรู้จักอุบายในการสอนมากมายให้เหมาะกับบุคคลนั้นๆ ตาม สมควรแก่บารมีของแต่ละคน ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ว่า พระพุทธองค์ทรงใช้อุบายสอนให้เหมาะสมกับ อุปนิสัยของแต่ละคนที่ควรฝึกได้ เช่น การปลอบโยน การบังคับ การยกย่อง ทำให้บุคคลเหล่านั้นละมานะ ทิฏฐิได้ เชื่อฟังในสิ่งที่พระองค์ทรงสอนได้จนสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด และผู้ที่พระองค์ฝึกให้แล้ว ก็จะได้ผลแห่งการฝึกตามสมควรแก่บารมีของแต่ละคนที่ได้สั่งสมมา ประการที่ 7 สัตถา เทวมนุสสานัง หมายถึง ทรงเป็นพระบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะตั้งแต่แรกที่ทรงสร้างบารมี พระพุทธองค์ก็มีมหากรุณาธิคุณ ตั้งความปรารถนาที่จะนำพาสรรพสัตว์ ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปสู่พระนิพพาน พระองค์จึงไม่ได้เทศนาสอนเฉพาะมนุษย์เท่านั้น แต่ทรง เทศนาสอนให้กับเทวดา พรหม อรูปพรหมหมดทุกชั้น ตลอดจนถึงสัตว์เดรัจฉาน ตามแต่กำลังบุญของ แต่ละท่านจะรับได้ ดังที่ปรากฏตามพุทธกิจ 5 ประการ คือ เวลาย่ำรุ่งพิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรดว่า จะมีบุคคลใดบ้าง มีอินทรีย์แก่กล้า มีบุญบารมีพอที่จะได้บรรลุธรรม พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรด เวลาเช้า บิณฑบาตโปรดสรรพสัตว์ให้ได้บุญบารมีเพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป เวลาเย็นแสดงธรรมโปรดสาธุชนที่มาฟังธรรม เวลาพลบค่ำทรงให้โอวาทภิกษุแก้ไขปัญหาพาไปสู่จุดหมาย คือพระนิพพาน เวลาเที่ยงคืนแก้ปัญหาของ เทวดาที่มาจากสวรรค์ชั้นต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดาให้ได้บรรลุธรรมกันเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ไม่เคยเบื่อหน่ายในการสอนเลย และยังทุ่มเทในการฝึกทั้งมนุษย์และเทวดา ทั้งหลายอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายทั้งในโลกนี้ โลกหน้าและการบรรลุ มรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดที่หัวใจแห่งความเป็นครูของพระองค์ทรงต้องการให้ทั้งมนุษย์และ เทวดาได้รับผลอย่างนี้ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจอย่างนี้ ทรงสั่งสอนทั้งมนุษย์และเทวดา ดังนั้น จึงได้พระนามว่า เป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประการที่ 8 พุทโธ หมายถึง ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว” ผู้รู้ คือ ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่ง ทั้งปวง ทั้งรู้ทั้งเห็น นอกจากเห็นแล้วรู้แล้วยังกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ เพราะพระพุทธองค์ทรงรู้เรื่องราว เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ว่า มีความทุกข์เป็นพื้นฐานของชีวิต ความทุกข์นั้นเกิดจากอะไร จะดับด้วยวิธีการใด ดับแล้วจะไปไหน เป็นอยู่อย่างไร ทรงรู้เห็นตลอดหมด และยังมีพระมหากรุณาธิคุณ นำความรู้ที่ได้รู้ได้เห็น มาแนะนำสั่งสอน ซึ่งเป็นความรู้อันบริสุทธิ์ ที่ออกมาจากแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ ผู้ที่รู้แล้วก็ทำให้บริสุทธิ์ 2 พรหมชาลสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 11 หน้า 147 พระวิสุทธาจารมหาเถระ, ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535 ข้อ 259 หน้า 276. บทที่ 2 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 27
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More