อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 75
หน้าที่ 75 / 209

สรุปเนื้อหา

อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์แสดงถึงนิสัยที่ส่งเสริมการสร้างบารมี เพื่อบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ โดยมีลักษณะที่ช่วยป้องกันความผิดพลาด 6 ประการ ได้แก่ เนกขัมมัชฌาสัย, วิเวกัชฌาสัย, อโลภัชฌาสัย, อโทสัชฌาสัย, อโมหัชฌาสัย และ นิสสรณัชฌาสัย ซึ่งแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญในการฝึกฝนตนเองของพระโพธิสัตว์เพื่อก้าวสู่ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการสร้างและพัฒนาคุณธรรมนี้ต้องใช้ความเพียรและอดทนอย่างสูงระยะเวลานานผ่านชาติที่เกิดมา.

หัวข้อประเด็น

-อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์
-การสร้างบารมี
-นิสัยที่ดี
-พระสัมมาสัมโพธิญาณ
-การฝึกฝนธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.2 อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้รับคำสรรเสริญจากสรรพสัตว์ทั้งหลายตลอดทั่วทั้งภพ 3อย่างมากมายว่า “เป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้เลิศกว่าบุคคลอื่น เป็นเอกบุคคลที่ไม่มี บุคคลใดเสมอเหมือน เป็นต้น” ซึ่งการที่พระองค์ได้รับคำสรรเสริญเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงได้ ฝึกฝนตนเองมาอย่างยิ่งยวดโดยมีการเตรียมพร้อมมาอย่างดีด้วยการวางแผนสร้างบารมีอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างบารมีอย่างยาวนาน ด้วยความเพียรพยายามและด้วยความอดทนอย่างสูงสุด ยากที่ บุคคลใดจะทำได้ จึงทำให้พระองค์ได้กำจัดนิสัยที่ไม่ดีหรือความคุ้นในสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไปจากตัวได้ในแต่ละ ชาติที่เกิดมาสร้างบารมี จนเมื่อนิสัยที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ไม่ดีในตัวได้ถูกกำจัดออกไปได้หมดแล้ว ประกอบกับ บารมีที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ก็ทำให้ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ได้ปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับตนเองมาตลอดเส้น ทางในการสร้างบารมี ซึ่งนิสัยที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติมา ก็จะทำให้พระสัมมาสัมโพธิญาณแก่กล้ายิ่งขึ้น นิสัย นี้เรียกว่า อัธยาศัย คือ นิสัยที่คิดจะสร้างบารมี และนิสัยนี้ก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาด ด้วยการทำ อกุศลกรรมในระหว่างการสร้างบารมี ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 6 ประการ คือ 1. เนกขัมมัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะออกบวชตลอดทุกชาติ รักในเพศบรรพชิตเป็นอย่าง ยิ่ง มีปกติเห็นโทษในกาม รู้ว่าสุขยิ่งกว่ากามคุณ 5 นั้นยังมีอยู่ เป็นสุขจากการเข้าถึงพระนิพพาน 2. วิเวกัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจอยู่ในที่เงียบสงัด วิเวกผู้เดียว ที่ใดสงบสงัดปราศจาก ความอึกทึกครึกโครม ย่อมพอใจในสถานที่นั้นยิ่งนัก มีปกติเห็นโทษในการคลุกคลีกด้วยหมู่คณะ ยินดีในที่นั่งที่นอนอันสงัดเหมาะสมต่อการทำใจให้สงบ 3. อโลภัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการบริจาคทาน หากมีช่องทางใดที่จะบริจาคทานได้แล้ว จะไม่ละเว้นเลย จะทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง และยินดีพอใจที่จะคบหากับบุคคลผู้ปราศจาก ความโลภ ไม่มีความตระหนี่ยิ่งนัก 4. อโทสัชฌาสัย หมายถึง มีความความพอใจในความไม่โกรธ พยายามหักห้ามความโกรธอยู่ ตลอดมา เจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวงด้วยความปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสาร เป็นยิ่งนัก 5. อโมหัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการทำลายโมหะ พยายามบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้เกิด ดวงปัญญา พิจารณาเห็นบาปบุญคุณและโทษตามความเป็นจริง และพอใจในการคบหาคนดี มีสติปัญญายิ่งนัก 6. นิสสรณัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการท่องเที่ยวเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร เพราะเห็นโทษในภพทั้งหมด ทั้งกามภพ รูปภพและอรูปภพ โดยมี จิตที่มุ่งตรงต่อพระนิพพานเพียงอย่างเดียว อันเป็นเอกันตบรมสุขอย่างเดียว ทั้งหมดนี้เป็นอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ หรือเรียกว่า นิสัยรักการสร้างบารมี ซึ่งจะเป็นไปเพื่อบ่ม พระสัมมาสัมโพธิญาณให้แก่รอบ โดยอัธยาศัยเช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง แต่อัธยาศัยเช่นนี้ท่านได้สั่งสม แก้ไขเรื่อยมาตลอดในทุกชาติที่เกิดมาสร้างบารมีไม่ว่าจะเกิดมาในกำเนิดใดก็ตาม ก็ได้แก้ไขปรับปรุง ฝึกฝน 64 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More