ข้อความต้นฉบับในหน้า
จงครอบครองทรัพย์สินทั้งหมดเหล่านี้เถิด”
ท่านสุเมธคิดว่า “มารดาบิดา ปู่ย่า ตายาย และตลอดจนทวดของเรา ได้สะสมทรัพย์เหล่านี้ไว้
มากมายมหาศาล แต่เมื่อไปสู่ปรโลกก็ไม่สามารถนำทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไปได้แม้เพียงกหาปณะเดียว เราจะ
หาวิธีเอาทรัพย์สมบัติทั้งหมดนี้ติดตามตัวเราไปในภพเบื้องหน้าให้ได้” ท่านสุเมธจึงขึ้นไปสู่ชั้นบนของปราสาท
แล้วนั่งคิดพิจารณาว่า “การเกิดขึ้นเป็นทุกข์ การเจ็บป่วยก็เป็นทุกข์ การตายก็เป็นทุกข์ อันตัวเราย่อมมีเกิด
แก่ เจ็บ และตายเป็นธรรมดา เราควรแสวงหาอมตธรรม ที่ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีความทุกข์ มีแต่
ความสุขล้วนๆ เราควรใช้ร่างกายอันเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกปฏิกูลนี้ แสวงหาทางพ้นจากทุกข์ให้ได้เสมือนกับ
ความสุขย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อความทุกข์ ฉันใด เมื่อวัฏสงสารมีความหลุดพ้นจากวัฏสงสารก็ย่อมมีได้ ฉันนั้น
เมื่อของร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นอันเป็นเครื่องระงับความร้อนนั้นก็ย่อมมี ฉันใด แม้ความสงบเย็นอันเป็น
เครื่องดับความร้อนด้วยไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ก็พึ่งมี ฉันนั้น เมื่อความชั่วมีอยู่ ความดีก็ต้องมี ฉันใด เมื่อ
ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิดก็ย่อมมีได้ ฉันนั้น
จากนั้นก็ได้พิจารณาเปรียบเทียบถึงการไม่แสวงหาแนวทางพ้นทุกข์กับเหตุการณ์ทั่วไป ที่ปรากฏ
อยู่บนโลกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ โดยได้เปรียบเทียบเป็นลำดับไป ดังนี้
1. เมื่อบุคคลตกอยู่ในหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำสะอาดเต็มเปี่ยม แต่ไม่ล้างตัวที่สระน้ำนั้น จะเป็น
ความผิดของสระน้ำนั้นก็หาไม่ ฉันใด เมื่อสระน้ำคืออมตธรรมอันเป็นเครื่องชำระมลทิน คือกิเลสมีอยู่ แต่ไม่
ยอมแสวงหาอมตธรรมนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของอมตธรรมก็หาไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้นเอง ฉันนั้น
2. เมื่อบุคคลถูกศัตรูรุมล้อม ช่องทางหนีไปก็มีอยู่ แต่ไม่ยอมหนีไป จะเป็นความผิดของช่องทาง
นั้นก็หาไม่ ฉันใด บุคคลผู้ถูกกิเลสห่อหุ้มยึดติดไว้ ช่องทางหมดกิเลสไปสู่อมตมหานครก็มีอยู่ แต่ไม่แสวงหา
ช่องทางนั้น จะเป็นความผิดของอมตมหานครก็หาไม่ ฉันนั้น
3. บุคคลผู้เจ็บป่วย เมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ แต่ไม่ยอมให้หมอรักษาจะเป็นความผิดของหมอก็
หาไม่ฉันใด บุคคลผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วยไข้ คือกิเลสเบียดเบียนแล้วไม่แสวงหาครูบาอาจารย์ที่รู้
หนทางพ้นทุกข์ จักเป็นความผิดของครูบาอาจารย์นั้นก็หามิได้ ฉันนั้น
หลังจากนั้นก็ได้พิจารณาว่าตนไม่ควรมีความห่วงใย ไม่ควรมีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อย
เน่าเต็มด้วยซากศพต่างๆ นี้ไป โดยพิจารณาเปรียบเทียบเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1. ธรรมดาเจ้าของเรือย่อมทิ้งเรือที่เก่าคร่ำคร่าผุพังมีน้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มีความอาลัยฉันใด เราก็
จักละทิ้งร่างกายนี้ ซึ่งมีของไม่สะอาดไหลออกจากทวารทั้ง 9 แห่งอย่างไม่มีความอาลัย เข้าไปยังอมตมหานคร
ฉันนั้น
2. บุคคลถือรัตนชาติเดินทางไปกับพวกโจร เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นกับตน เพราะมีรัตนชาติอยู่ จึงรีบ
หนีโจรเหล่านั้นไปฉันใด ร่างกายนี้ก็เป็นเสมือนโจรปล้นรัตนะ เพราะถ้าความอยากเกิดขึ้นในร่างกายนี้
ธรรมรัตนคืออริยมรรคของเราก็จักพินาศไป ดังนั้นเราทิ้งร่างกายนี้อันเปรียบเสมือนโจรแล้วเข้าไปยังนคร
คืออมตธรรม ฉันนั้น
ท่านสุเมธจึงคิดตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะออกบวชเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ ท่านได้สละทรัพย์
สมบัติของตนทั้งหมด เป็นมหาทานแก่ชนในเมืองมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น แล้วท่านสุเมธเดิน
100 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า