ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปิดครอบด้วยหีบทองอีกใบหนึ่ง แล้วอัญเชิญขึ้นสู่จิตกาธานซึ่งทำด้วยไม้หอม ถวายพระเพลิงพระสรีระ แล้ว
สร้างสถูปไว้ในหนทางใหญ่ 4 แพร่ง อัญเชิญพระอัฐิธาตุบรรจุไว้ที่พระสถูป
พระพุทธองค์ตรัสต่อไปถึงอัฐิของบุคคล 4 จำพวกที่สมควรจะบรรจุไว้ในพระสถูป โดยเรียกบุคคล
ทั้ง 4 จำพวกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า สาวก
ของพระตถาคต พระเจ้าจักรพรรดิราช
7.1.4 ประทานโอวาทและตรัสสรรเสริญพระอานนท์
เมื่อเวลาปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใกล้เข้ามา พระอานนท์ผู้ที่ยังเป็นเสขบุคคล จึงไม่อาจ
หักห้ามความโศกเศร้าไว้ได้ ออกไปยืนร้องไห้รำพันถึงการที่ตนติดตามอุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานาน
จนกระทั่งพระพุทธองค์จะปรินิพพานแล้ว ตนเองก็ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตเสียที เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ
ว่า พระอานนท์ได้เศร้าโศกเสียใจอยู่ จึงรับสั่งให้เรียกพระอานนท์มา แล้วตรัสประทานโอวาทแก่พระอานนท์
ไม่ให้เศร้าโศกว่า “ความพลัดพลาด จากของรักของชอบใจทั้งสิ้นย่อมมีเป็นธรรมดา สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัย
ปรุงแต่งแล้ว ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา อานนท์ เธอได้เป็นอุปัฏฐากตถาคต ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโน
กรรม อันประกอบด้วยเมตตา เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุขไม่มีสอง หาประมาณมิได้มาช้านานเธอได้
กระทำบุญไว้แล้ว จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยพลัน” แล้วได้ตรัสสรรเสริญพระ
อานนท์ว่าเป็นยอดพุทธอุปัฏฐาก เป็นพหูสูต มีสติรอบคอบ มีฐิติ คือ ความเพียร มีปัญญารู้จักกาลเทศะ และ
เมื่อบุคคลใดได้เข้าใกล้พระอานนท์ ย่อมยินดีที่ได้เห็น ได้ฟังธรรม พอใจในธรรม และไม่อิ่มในธรรมที่
พระอานนท์แสดง
7.1.5 ประวัติศาสตร์เมืองกุสินารา
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานโอวาท เพื่อให้พระอานนท์หายจากความเศร้าโศกแล้ว
พระอานนท์ได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปปรินิพพานที่เมืองอื่น เช่น เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เป็นต้น
เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่มีขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล เป็นต้น คนเหล่านี้ยังมีความ
เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์อยู่มาก และยังดูสมพระเกียรติของพระองค์อีกด้วย ไม่ควรเสด็จปรินิพพานใน
เมืองนี้ เพราะเป็นเมืองเล็กน้อย เป็นเมืองรอง เป็นเมืองสาขาอย่างกุสินารานี้
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสดับอย่างนั้น จึงตรัสห้ามไม่ให้พระอานนท์กล่าวอย่างนั้น ในอดีต
เมืองกุสินารานี้ เป็นเมืองใหญ่ มีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่า มหาสุทัสสนะ ผู้ทรงธรรมเป็นพระราชา
โดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร 4 เป็นขอบเขต สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ เป็นกษัตริย์
ปกครองมีชื่อว่า กุสาวดีราชธานี อาณาเขตยาว 12 โยชน์ กว้าง 7 โยชน์ เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก
มีธัญญาผลาผลบริบูรณ์ทุกสิ่งสรรพอาหารมีมากมาย กระจัดกระจายโกลาหลไปด้วยสรรพเสียงสำเนียงต่างๆ
10 ประการ ทั้งกลางวันและกลางคืน
1 เสียงทั้ง 10 ประการ ได้แก่เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงกังสดาล เสียงขับร้อง
เสียงประโคม และเสียงผู้คนร้องเรียกค้าขายกัน
164 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า