ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงสมาทานสัจจบารมีข้อที่ 7 นี้
กระทำให้มั่นก่อนมีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิ
ญาณได้
ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือเที่ยงตรงในโลก พร้อม
ทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย ฤดู หรือปีก็ตาม ย่อมไม่โคจรและเวียน
ออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ออกไป
นอกทางสัจจะทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้”
8. อธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตน
ไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นอย่างแน่วแน่ ซึ่งเป็นบารมีที่เกิดจากการตั้งเป้าหมาย เพื่อจะได้ตั้งมั่นอยู่กับ
เป้าหมายที่ตนได้ปรารถนาไว้ แม้จะมีอุปสรรคหรือปัญหาหรือมีบุคคลใดมาอิจฉาริษยาขัดขวางต่อการทำความดี
ก็ไม่หวั่นไหว แต่ตรงกันข้ามกลับมีมุทิตาจิตตอบ ไม่คิดทำร้ายใคร และตราบใดที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้ง
ความปรารถนาไว้ ก็ไม่ยอมล้มเลิกในการสร้างบารมี แม้
อุปสรรคนั้นจะต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม ก็ไม่ยอมเลิกราเป็น
อันขาด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ ไม่
หวั่นไหวในการสร้างบารมี ย่อมตั้งจิตตอกย้ำปรารถนาพุทธ
ภูมิซ้ำแล้วซ้ำเล่า อุปมาเหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบ ไม่หวั่นไหว
โยกคลอนด้วยแรงลมที่พัดมาจากทิศทั้ง 4 ฉันใด พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าก็ย่อมตั้งจิตอธิษฐานตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่า
จะถึงจุดมุ่งหมาย ฉันนั้น ดังเช่นที่พระองค์กล่าวไว้เมื่อครั้ง
เป็นสุเมธดาบสว่า
“ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก
เป็นธรรมแม้ข้ออื่นๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ ในคราวนั้น
เราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ 8 ท่านผู้แสวงหาคุณ
ใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่
8 นี้ กระทำให้มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น
จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะลม
แรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือน
กัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานในกาลทั้งปวง ถึงความเป็น
อธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้”
สุเมธกถา, ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 55.
สุเมธกถา, ขุททกนิกาย อปทาน, มก. เล่ม 70 หน้า 56.
400.o
บทที่ 3 คุณสมบัติ และคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 59