คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 102
หน้าที่ 102 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอคุณสมบัติทั้ง 10 ประการ ของพระโพธิสัตว์ ผู้มุ่งมั่นในการตรัสรู้ โดยเน้นถึงความเมตตาและการช่วยเหลือผู้อื่น ทั้งยังสำรวจธรรมดาที่พระโพธิสัตว์ต้องเผชิญขณะสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะในชาติใดก็ยังมีน้ำใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น พระโพธิสัตว์ได้ลงมาในโลกเพื่อแสงสว่างและความเมตตา มีการอารักขาจากเทพบุตร และมีคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้การคลอดพระโพธิสัตว์นั้นเป็นไปอย่างเป็นเอกลักษณ์

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์
-น้ำใจกว้างขวาง
-การช่วยเหลือผู้อื่น
-บารมีของพระโพธิสัตว์
-ธรรมดาของพระโพธิสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คุณสมบัติทั้ง 10 ประการ เป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีน้ำใจกว้างขวาง มีมหากรุณาใหญ่ เฉกเช่นพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต นอกจากจะทำให้ ตนเองมีความสุขสบายแล้ว ยังมีน้ำใจอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุขสบายอย่างที่ตนเองได้รับมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้สั่งสมมาอย่างยาวนาน จนเป็นนิสัยที่ ปรารถนาจะช่วยเหลือคนอื่น ไม่ว่าในชาติที่ถือกำเนิดเป็นอะไรก็ตาม ความมีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่นก็ยังคงมี อยู่เสมอ ไม่มีเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นในชาติที่เกิดเป็นวานรโพธิสัตว์ 1 ถึงแม้จะเอาชีวิตแลกกับการช่วยเหลือ ผู้อื่นให้พ้นทุกข์ก็ยอมตาย ฉะนั้นจึงทำให้พระองค์มีเมตตาจิตแก่ทุกคน อยากที่จะให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากวัฏสงสารไปด้วย 4.1.2 เรื่องธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ธรรมดาของพระโพธิสัตว์ คือ ความปกติของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ที่สร้างบารมี เพื่อเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทุกพระองค์จะต้องทำอย่างนี้ทั้งหมดถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเหล่าพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายที่จะต้องทำอย่างนี้ มีทั้งหมด 16 ประการ คือ 1. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา 2. เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์พระมาดา จะมีแสงสว่างอันโอฬารปรากฏในโลก หมื่นโลกธาตุ สะเทือนสะท้านหวั่นไหว 3. มีเทพบุตร 4 ตนมาอารักขาทั้งสี่ทิศ เพื่อป้องกันมนุษย์และอมนุษย์มิให้เบียดเบียนพระ โพธิสัตว์และพระมารดา 4. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงตั้งอยู่ในศีล 5 โดยปกติ 5. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่ทรงมีความรู้สึกทางกามในบุรุษทั้งหลาย และจะเป็นผู้อันบุรุษ ใดๆ ผู้มีจิตกำหนัดก้าวล่วงไม่ได้ 6. พระมารดาของพระโพธิสัตว์มีลาภมาก บริบูรณ์ด้วยกามคุณ 5 (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) 7. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่มีโรค มองเห็นพระโพธิสัตว์ในพระครรภ์เหมือนเห็นเส้นด้ายใน แก้วไพฑูรย์ (ตั้งแต่ข้อ 3 ถึง 7 หมายถึง ระหว่างทรงพระครรภ์) 8. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ 7 วันแล้ว พระมารดาย่อมสวรรคต เข้าสู่สวรรค์ชั้นดุสิต 9. สตรีอื่นบริหารครรภ์ 9 เดือนบ้าง 10 เดือนบ้างจึงคลอด ส่วนมารดาพระโพธิสัตว์บริหาร พระครรภ์ 10 เดือนพอดีจึงคลอด 10. สตรีอื่นนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดายืนคลอด 11. เมื่อประสูติ เทวดารับก่อน มนุษย์รับภายหลัง 1 มหากปิชาดก, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 59 หน้า 332. มหาปทานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 หน้า 12. บทที่ 4 ก่อนจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน DOU 91
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More