บทสรุปการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 173
หน้าที่ 173 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความสำคัญของบิณฑบาตที่มีผลต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะบิณฑบาตในวันที่ทรงปรินิพพาน และการอธิบายถึงบรรยากาศที่เกิดขึ้นในงานทางศาสนา รวมถึงความรู้สึกของพระอานนท์ที่พยายามช่วยเหลือผู้ที่ตั้งคำถามถึงการปรินิพพาน และการบูชาพระพุทธองค์ในช่วงเวลาที่สำคัญนี้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของบิณฑบาต
-การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
-บรรยากาศในวันปรินิพพาน
-บทบาทของพระอานนท์
-การบูชาพระพุทธองค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อพระพุทธองค์ทรงพักบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงตรัสสั่งกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ ต่อ ไปภายหน้า หากมีใครทำความร้อนใจให้เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า “ที่พระพุทธเจ้าต้องเสด็จปรินิพพาน ก็เป็นเพราะบริโภคอาหารของท่าน” อานนท์ เธอจงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตร โดย ชี้แจงแก่เขาว่า บิณฑบาตที่มีผลเสมอกัน มีอานิสงส์เสมอกัน มีผลใหญ่กว่า มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ นั้นมีอยู่ 2 คราว คือ บิณฑบาตที่บริโภคแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หมายถึง บิณฑบาตที่นาง สุชาดาถวายในวันตรัสรู้ และบิณฑบาตที่บริโภคแล้ว เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงบิณฑบาต ที่นายจุนทะถวายในวันปรินิพพาน” ประเด็นนี้เป็นที่สงสัยกันอย่างมากในเหล่าพุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปที่ได้ทราบ จึงเป็นที่ วิพากษ์วิจารณ์กันตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นห่วงนายจุนทะเมื่อสอง พันห้าร้อยกว่าปีก่อน แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสกับพระอานนท์แล้ว มีพุทธดำรัสปรากฏในพระไตรปิฎก แต่ก็ยังมีบุคคลที่ไม่เข้าใจหรือสงสัยในประเด็นนี้อยู่ จึงจะได้ชี้แจงประเด็นนี้ตามที่ได้ศึกษามาต่อไป การที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานในวันนั้น ก็เป็นไปตามพระพุทธกำหนด เมื่อทรงปลงอายุสังขาร แล้ว คือ ทรงมีพระประสงค์ที่จะปรินิพพานในวันนั้นอยู่แล้ว วัน เวลา สถานที่ ที่จะเสด็จปรินิพพานนั้น พระองค์ได้ทรงประกาศล่วงหน้าไว้แล้วถึง 3 เดือน และก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จมาถึงบ้านของนายจุนทะ แล้วได้บริโภคสุกรมัทวะนั้น พระองค์ก็ทรงประชวรมาก่อนแล้ว แม้ในขณะที่บริโภคอาหารของนายจุนทะก็ อยู่ในระหว่างประชวร นอกจากนี้ ยังมีพยานการรู้เห็นการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระ อนุรุทธะ ผู้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านตาทิพย์ ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป ดังนั้น ไม่ว่าจะทรงเสวยอะไรก็ตาม ก็จะต้องเสด็จดับขันธ์ในวันนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรง ปรินิพพานเพราะเสวยสุกรมัททวะ ที่ถูกควรจะพูดเสียใหม่ว่า พระพุทธเจ้าเสวยสุกรมัททวะในวันปรินิพพาน 7.1.3 หลักปฏิบัติของพุทธบริษัท 4 การทำสักการบูชา หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพักในบริเวณสวนมะม่วงแล้ว ก็เสด็จมุ่งตรงยังเมือง กุสินารา เมื่อเสด็จถึงสาลวันอันเป็นพระราชอุทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินาราแล้ว ตรัสสั่งพระอานนท์จัดที่ ประทับระหว่างไม้สาละคู่ หันศีรษะไปทางทิศอุดร แล้วทรงบรรทมด้วยสีหไสยาสน์ ที่เรียกว่า อนุฏฐานไสยา ครั้งนั้น แม้ไม่ใช่ฤดูกาล แต่ไม้สาละทั้งคู่ผลิดอกบานสะพรั่ง ร่วงหล่นโปรยปรายลงมาที่พระสรีระ เพื่อบูชาพระองค์ แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ร่วงหล่นโปรยปรายลงมาที่พระ สรีระเพื่อบูชาพระพุทธองค์ แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ร่วงหล่นโปรยปรายลง มาที่พระสรีระเพื่อบูชาพระพุทธองค์ แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็บรรเลงเสียงดนตรีในอากาศ เพื่อบูชาพระพุทธองค์ เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุการณ์นี้ตรัสกับพระอานนท์ว่า อนุฏฐานไสยา คือ การนอนแล้วไม่ลุกขึ้นอีก 162 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More