บารมีสิบประการในพระพุทธศาสนา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 74
หน้าที่ 74 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบารมีทั้ง 10 ประการที่จำเป็นสำหรับการฝึกฝนในชีวิต โดยมีขันติบารมี, สัจจบารมี, อธิษฐานบารมี, เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมถึงการวางแผนระยะยาวเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และความสำคัญของการทำความดีต่อเนื่องตลอดชีวิต เมื่อทำบารมีอย่างเต็มที่ จะสามารถหลีกเลี่ยงความตกต่ำในชีวิตได้ แม้จะมีกรรมไม่ดีจากชาติที่แล้ว สิ่งนี้เป็นการเตรียมตัวเพื่อทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-บารมีสิบประการ
-การวางแผนเพื่อทำความดี
-ความสำคัญของความอดทนและความจริงใจ
-การฝึกฝนนิสัยดีตลอดชีวิต
-การสร้างบารมีเพื่อการพัฒนาตน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6. ขันติบารมี เป็นการวางแผนแห่งการต่อสู้หักหาญกับอุปสรรคน้อยใหญ่ทุกๆ ชนิด ไม่ว่าจะ เป็นการอดทนต่อดินฟ้าอากาศ อำนาจกิเลส อำนาจบีบคั้น ความเจ็บป่วยไข้จะอดทนแบบใจเย็นๆ จนกว่าจะชนะ และไม่ยอมถอยหลังแม้แต่ก้าวเดียว 7. สัจจบารมี เป็นการวางแผนแห่งความเป็นคนซื่อตรง ที่มีความจริงจังและความเด็ดเดี่ยวในการ ทำความดีนั้นไปจนกว่าจะสำเร็จ นอกจากนี้ยังฝึกให้เป็นคนที่มีความจริงใจกับทุกคน ไม่ได้ เลือกที่รักผลักที่ชัง และรักษาสัจจะของตน พูดแล้วรักษาคำพูดของตน คบคนด้วยความจริงใจ เมื่อเขามีสุขก็ร่วมสุข เขามีทุกข์ก็ร่วมกันแก้ไข เหมือนกับสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า “มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน” 8. อธิษฐานบารมี เป็นการวางแผนแห่งความฉลาดรอบคอบในการทำความดี มีการตั้งเป้าหมาย อย่างดี แล้วก็ปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนตั้งเป้าหมายด้วยความเด็ดเดี่ยว เพื่อทำความดีให้ได้ตาม ที่ตั้งเป้าหมายไว้ จนกว่าจะสำเร็จ 9. เมตตาบารมี เป็นการวางแผนแห่งความรักให้แก่คนทั้งโลก มีความรักใคร่ปรารถนาดี มี ไมตรีจิตซึ่งกันและกัน เห็นใครมีความทุกข์หรือลำบาก ก็เข้าไปช่วยเหลือเหมือนญาติร่วมสาย โลหิตเดียวกัน 10. อุเบกขาบารมี เป็นการวางแผนแห่งความเที่ยงธรรม มีใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอมั่นคง ไม่มีอคติ รักษาความยุติธรรมเท่าชีวิต บารมีทั้ง 10 ประการ ใน 3 ระดับ จึงเป็นการวางแผนเพื่อฝึกนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง และกำจัด นิสัยไม่ดีหรือความคุ้นในสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากใจของตนเอง ซึ่งการวางแผนนี้ ไม่ได้วางแผนเพียงแค่ระยะสั้น เท่านั้น แต่เป็นการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นขั้นตอน เป็นการวางแผนผังชีวิตในระยะยาวโดยตั้งกันข้ามภพ ข้ามชาติ เมื่อวางผังของชีวิตแล้ว ก็มุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างบารมี ซึ่งเปรียบเสมือนเรือแพ เข็มทิศ และ เสบียงที่จะข้ามห้วงแห่งวัฏสงสาร แม้เส้นทางสายนี้จะไม่ได้ราบเรียบสะดวกสบาย บางครั้งอาจจะพบ อุปสรรคปัญหาต่างๆ มากมาย แต่ก็ไม่ได้ย่อท้อ อดทนพยายามเพื่อเป้าหมายของชีวิตจนกว่าจะสำเร็จได้ สรุป บารมีทั้ง 10 ประการนี้จะต้องทำอย่างยิ่งยวด ทำแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน และทำอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะบุคคลที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แม้บุคคลที่จะเป็นพระอรหันต์ หรือแม้แต่ คนธรรมดาสามัญอย่างเรา ก็จะต้องสร้างบารมีให้ได้อย่างเต็มที่ด้วย ถ้าไม่ทำเรื่องจะไปบรรลุมรรคผล นิพพานนั้นอย่างไปหวัง หรือถ้าใครยังทำไม่ได้ ชาตินี้ก็ยังลุ่มๆ ดอนๆ เรื่องชาติหน้าไม่ต้องพูดถึง แต่ถ้าทำได้ดีแล้ว ชีวิตนี้จะไม่มีตกต่ำ เพราะความดีได้ฝังเข้าไปอยู่ในใจ ความตกต่ำจะไม่บังเกิดกับเรา แม้ว่าชาติก่อนๆ จะได้ เคยทำความชั่วมาก็ตาม คือ ถ้าทำกรรมชั่วไม่หนักมาก ผลกรรมนั้นจะมาแบบผ่อนส่งไม่หนักหนาสาหัสเกิน ไป ก็เพราะเรากระทำดีมากๆ ในชาตินี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรรมนั้น ยังตามมาไม่ทัน บทที่ 3 คุณสมบัติ และคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 63
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More