ข้อความต้นฉบับในหน้า
เจ้าชายสิทธัตถะผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นชีวิตที่สมบูรณ์พร้อม
ยิ่งด้วยโลกิยทรัพย์ ใคร่ปรารถนาสิ่งใดย่อมได้สมพระทัย หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้เห็นเทวทูตทั้ง 4
แม้ชีวิตของพระองค์จะยังวนเวียนอยู่ในกามคุณที่เพียบพร้อม แต่ในพระทัยทรงเบื่อหน่ายยิ่ง ใคร่แสวงหา
หนทางแห่งความหลุดพ้นตลอดเวลา จนในที่สุดพระองค์ก็ได้ตัดสินพระทัย สละราชสมบัติ พระชายา
พระราชาโอรสอันเป็นที่รักยิ่ง แต่เพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นที่รักยิ่งกว่า ก็ไม่อาจจะอยู่เยี่ยงนี้ได้ตลอดไป
ทรงมีพระทัยเด็ดเดี่ยวยิ่ง ดุจลูกธนูที่ยิ่งออกจากแบ่งย่อมไม่กลับมา เสด็จออกจากพระราชวัง แม้พญามาร
จะขวางกั้น กล่าวล่อลวงพระองค์ด้วยสมบัติจักรพรรดิ แต่ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนพระทัยพระองค์ได้ ในที่สุด
พระองค์ก็เข้าสู่วิถีแห่งการค้นความหลุดพ้น นับเป็นแบบอย่างแห่งความมุ่งดีงามโดยแท้
5.7 ชีวิตก่อนการตรัสรู้
หลังจากที่ได้สละทุกสิ่งออกบวช ช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาแห่งความปลอดโปร่งพระทัยยิ่งนัก เป็น
ช่วงชีวิตที่สำคัญของสมณะสิทธัตถะที่เข้าใกล้วิถีแห่งความหลุดพ้นเข้าไปทุกขณะทรงบำเพ็ญเพียรนั่งสมาธิอยู่
ณ ป่ามะม่วง ตำบลอนุปิยอัมพวัน ไม่ยอมฉันภัตตาหารตลอด 7 วัน วันที่ 8 จึงเสด็จออกบิณฑบาตในเมือง
ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นใหญ่ในแคว้น ทอดพระเนตรจากบนปราสาท เห็นลักษณะอัน
งดงามและสำรวมของสมณะนั้น จึงได้ส่งราชบุรุษไปสืบข่าว ต่อมาเมื่อทราบถึงจริยวัตรของสมณะนี้ จึงเกิด
ความเลื่อมใสศรัทธา คิดจะแบ่งสมบัติให้เพราะเข้าใจผิดคิดไปว่า สมณะนี้เป็นเจ้าชาย ออกบวชด้วยเหตุ
แห่งความขัดแย้งกันในราชสมบัติ แต่สมณะสิทธัตถะทรงปฏิเสธราชสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร เพราะ
พระองค์ทรงสละราชย์สมบัติออกบวช จึงไม่มีความปรารถนาในราชย์สมบัติอีกต่อไป และได้รับปฏิญญาว่า
จะกลับมาโปรดพระเจ้าพิมพิสารหากตรัสรู้แล้ว
ค้นหาครูอาจารย์
ในแคว้นมคธมีสำนักเจ้าลัทธิมากมาย แต่มี 2 สำนักที่มีชื่อเสียง สมณะสิทธัตถะจึงได้แสวงหาครูบา
อาจารย์ที่จะชี้แนะแนวทางแห่งความหลุดพ้นได้ จนในที่สุดได้ร่ำเรียนอยู่ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร
ใช้เวลาไม่นานก็สำเร็จสมาบัติ 7 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 3 อันเป็นความรู้สูงสุดของอาจารย์ แต่ก็ยังไม่
พบสิ่งที่พระองค์ต้องการ จึงไปสู่สำนักของอุทกดาบส รามบุตร ใช้เวลาศึกษาไม่นาน ก็สำเร็จสมาบัติ 8 เป็น
อันเป็นผลสูงสุดของอาจารย์อีกเช่นกัน แต่ก็ยังไม่ทรงพบสิ่งที่พระองค์ทรงค้นหา
ตัดสินพระทัยค้นหาธรรมด้วยพระองค์เอง
เมื่อได้ศึกษาหาความรู้ในสำนักอาจารย์ทั้ง 2 แล้ว ไม่พบหนทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงตัดสินพระทัย
ที่จะค้นหาวิธีการด้วยพระองค์เอง เพราะทรงเชื่อมั่นในบุญบารมีของพระองค์ และทรงมั่นใจในการ
พยากรณ์และการเสี่ยงทายอธิษฐานด้วยอีกประการหนึ่ง จึงลาอาจารย์อุทกดาบสจากไป เพื่อแสวงหา
หนทางพ้นทุกข์
หลังจากพระโพธิสัตว์ได้หลีกออกจากสำนักของอุทกดาบสแล้ว ก็ได้แสวงหนทางพ้นทุกข์ที่
130 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า