คุณสมบัติ 10 ประการของพระโพธิสัตว์ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 101
หน้าที่ 101 / 209

สรุปเนื้อหา

พระโพธิสัตว์มีน้ำพระทัยมั่นคงและมหากรุณา โดดเด่นด้วยคุณสมบัติ 10 ประการ ได้แก่ ความไม่ติดอยู่, ความไม่อาลัยสิ่งภายนอก, ความยินดีในการให้, ความปล่อย, ความจริงใจ, ความละเอียดรอบคอบ, ความคิดใหญ่, ความคิดเหนือวิสัย, ความสามารถทำสิ่งที่ยาก และความเป็นผู้นำที่ไม่เสมอใคร พระองค์พยายามช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์โปรดทราบ สาระจะถูกถ่ายทอดในเวสสันดรชาดกและมิลินทปัญหา.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์
-การสร้างบารมี
-ธรรมะ และจิตวิญญาณ
-บทบาทในศาสนา
-การช่วยเหลือมนุษย์และเทวดา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธิดาและเทวีผู้เป็นที่รักของเรา” ที่ตรัสเช่นนี้ เพราะตระหนักดีว่า หากภพชาติใดที่ท่านได้ตรัสรู้พระสัมมา สัมโพธิญาณ พระองค์ย่อมสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับหมู่ญาติทั้งหลาย รวมทั้งสั่งสอนมนุษย์และเทวดา ให้พบกับพระธรรมอันประเสริฐได้ การที่พระโพธิสัตว์มีน้ำพระทัยอันเต็มเปี่ยมกว้างขวาง มีมหากรุณาอันหาที่เปรียบมิได้นี้ ทำให้ พระองค์มีคุณสมบัติที่พิเศษ 10 ประการ เป็นคุณสมบัติของเอกบุรุษที่ไม่มีบุคคลใดเสมอเหมือนได้ คุณสมบัติ 10 ประการของพระโพธิสัตว์ คือ 1. อะเคธะตา ความไม่ติดอยู่ในของรักของชอบของคนอื่น เป็นผู้ที่มีใจติดในการสร้างบารมีเพื่อ มุ่งไปสู่อายตนนิพพานเพียงอย่างเดียว 2. นิราละยะตา ความไม่อาลัยเกี่ยวข้องในสิ่งของภายนอก เป็นผู้ยินดีที่จะมุ่งสู่ความบริสุทธิ์ หลุดพ้น 3. จาโค ความสละ คือ เป็นผู้ที่ยินดีในการให้มากกว่าการเป็นผู้รับจากคนอื่น พระองค์เป็นยอด นักเสียสละ นักสังคมสงเคราะห์ที่แท้จริง 4. ปะหานัง ความปล่อย คือ เป็นผู้ที่มีสามารถปล่อยวางได้ง่าย ไม่ผูกโกรธ ไม่ถือสาเอาความ ไม่เอาเรื่องใคร มีแต่จะเอาบุญอย่างเดียว 5. อะนะราวัตตินา ความไม่หวนคิดกลับกลอก คือ เป็นคนจริง ไม่มีความคิดกลับกลอก คิด อย่างไรก็พูดอย่างนั้น พูดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น 6. สุขุมัตตา ความละเอียด คือ เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาทเลินล่อ จนเสียการ เสียงาน พระองค์จะทำงานทุกอย่าง ไม่ว่างานนั้นจะเป็นของพระองค์เองหรือทำให้คนอื่น จะ ทำอย่างพิถีพิถัน ไม่มีความลำเอียงในใจ 7. มะหันตัตตา ความเป็นของใหญ่ คือ เป็นผู้ที่มีความคิดใหญ่ ใจกว้าง เสมือนท้องมหาสมุทรที่ กว้างใหญ่ไพศาล 8. ทรานุโพธัตตา ความเป็นของรู้ตามได้ยาก คือ เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปรู้ตามได้ยาก เพราะพระองค์ มีความคิดเหนือวิสัยของปุถุชนทั่วไป คือ มีจิตใจสูงส่ง คิดจะช่วยเหลือคนอื่นให้หลุดพ้นจากทุกข์ ส่วนคนทั่วไปคิดเพียงว่า ทำอย่างไรตัวเองจึงจะจะได้ประโยชน์มากที่สุด 9. ทุลละภัตตา ความเป็นของได้ยาก คือ เป็นผู้ทำในสิ่งที่คนทั่วไปทำได้ยาก สามารถทำของยาก ให้ง่าย ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก เพราะเรื่องใหญ่มีเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องขจัดกิเลส อาสวะให้หมดสิ้น และช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารนี้ 10. อะสะทิสะตา ความเป็นของไม่มีใครเสมอ คือ เป็นผู้ที่ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้นำในการ สร้างบารมี มีความคิด คำพูดและการกระทำที่ประเสริฐเหนือกว่าคนอื่น มักแสดงออกในลักษณะของความ เป็นผู้นำตลอดเวลา ไม่ว่าพระองค์จะถือกำเนิดเป็นอะไร จะมีลักษณะของความเป็นผู้นำมาโดยตลอด จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เวสสันดรชาดก, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 64 หน้า 765. มิลินทปัญหา, หน้า 343. 90 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More