การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 60
หน้าที่ 60 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่มีจุดมุ่งหมายสู่สัมมาสัมโพธิญาณ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคใด โดยการสั่งสมบุญและคุณธรรมต่าง ๆ เช่น อัธยาศัยที่จะไม่ทำความผิดพลาดและธรรมสโมธานที่ช่วยส่งเสริมการสร้างบารมีให้ประสบความสำเร็จในอนาคต บทความยังเน้นถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะและคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงการปรับใช้องค์ความรู้ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในกฎแห่งกรรมและพัฒนาตนเองในทางที่ดี.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์
-อัธยาศัยและคุณธรรม
-ธรรมสโมธาน
-บุญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การนำความรู้ไปใช้ในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีความตั้งใจที่มุ่งมั่นในการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ แม้หนทางจะ ยาวนานเพียงใดและไม่ได้ราบเรียบสะดวกสบาย ก็จะสร้างบารมีอย่างไม่ได้ย่อท้อแต่อย่างใด ตั้งแต่การสั่งสมบุญ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ใช้ชำระสันดานให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นความประพฤติที่ดี ทางกาย ทางวาจาและทางใจ จนกระทั่งมีจิตใจที่กล้าแข็งขึ้น จึงได้สร้างบารมี ซึ่งหมายถึง บุญที่ทำอย่างมากด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน อย่างไม่หวั่นไหว จนบารมีครบทั้ง 30 ประการ 2. อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ คือ นิสัยที่คิดจะสร้างบารมี และนิสัยนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้ทำผิดพลาด ด้วยการทำอกุศลกรรมในระหว่างการสร้างบารมี โดยอัธยาศัยเช่นนี้พระบรมโพธิสัตว์ได้สั่งสม แก้ไขปรับปรุง ฝึกฝนตนเองเรื่อยมาตลอดในทุกชาติที่เกิดมาสร้างบารมีไม่ว่าจะเกิดมาใน กำเนิดใดก็ตาม จนทำให้มีอัธยาศัยทั้ง 6 ประการนี้เกิดขึ้นมาในใจ 3. ธรรมสโมธานเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยส่งเสริมการสร้างบารมีให้การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นเป็นผลสำเร็จได้ในอนาคต เพราะธรรมสโมธาน เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ได้รับพุทธพยากรณ์ ซึ่งเป็นการยืนยันว่า จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตได้อย่างแน่นอน 4. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์สร้างบารมีกันมาอย่างยาวนานด้วยบุญบารมีอย่างมากมาย ที่สั่งสมมาตลอดเส้นทางในการสร้างบารมี ทำให้ได้ลักษณะของกายที่สมบูรณ์ที่สุด สวยงาม เหมาะสมกับตำแหน่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นต้นบุญต้นแบบของสรรพสัตว์ตลอด ทั่วทั้งภพ 3 ซึ่งทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่เคารพ ศรัทธา เทิดทูนบูชา บุคคลใดเมื่อพบ เจอจึงเกิดจิตเลื่อมใสหาได้มีจิตปฏิพัทธ์ไม่ พระองค์จึงเป็นเอกบุคคลที่ไม่มีบุคคลใดทั่วทั้งภพ 3 เสมอเหมือนได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ และสามารถอธิบายคำว่าบารมีได้ อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงคุณลักษณะและคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะมหาบุรุษได้อย่างถูกต้อง และปลูกฝังความเชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต บทที่ 3 คุณ สมบัติ และคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More