ข้อความต้นฉบับในหน้า
ใจของกายมนุษย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด
พอถูกส่วนก็จะเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อหยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูก
ส่วนก็จะเข้าถึงดวงศีล เมื่อหยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงสมาธิ
พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงปัญญา เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงวิมุตติ เมื่อหยุด
อยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงกายทิพย์
เราคงจะได้เห็นแล้วว่า ลำดับขั้นการส่งใจเข้าไปใน “กลาง” จากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
ไปจนถึงกายมนุษย์ละเอียด และจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดไปจนถึงกายทิพย์นั้น มีลักษณะ
และขั้นตอนทำนองเดียวกัน คือ ต้องวางใจหยุดนิ่งอยู่กลางศูนย์กลางกายฐานที่ 7 พอถูกส่วนก็เห็นดวง
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อ
วางใจในทำนองเดียวกันพอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
ตามลำาดับ
โดยการส่งใจในทำนองเดียวกันนี้ ใจของกายทิพย์ก็จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียดเข้าไปรวมเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกับใจของกายทิพย์ละเอียด ครั้นแล้วใจของกายทิพย์ละเอียดก็จะเข้าถึงกายรูปพรหมเข้าไป
ติดแน่นอยู่กับใจของกายรูปพรหม ต่อจากนั้น ใจของกายรูปพรหมก็จะเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด จาก
กายรูปพรหมละเอียดก็จะเข้าถึงกายอรูปพรหม จากกายอรูปพรหมก็จะเข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด จาก
กายอรูปพรหมละเอียดก็จะเข้าถึงกายธรรม หรือธรรมกายนั่นเอง
การดำเนินจิตเข้าไปภายในเช่นนี้ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ตามเห็นกายในกาย เพื่อให้
เข้าใจง่ายขึ้น จึงอาจจะเปรียบได้กับการเดินทางของเราในปัจจุบัน เป็นต้นว่าจะต้องเริ่มจาการโดยสาร
จักรยานยนต์รับจ้างออกจากบ้าน เพื่อไปลงเรือข้างฟากแม่น้ำ แล้วโดยสารรถยนต์ เพื่อไปต่อรถไฟ หรือ
เครื่องบินต่อไป จนกระทั่งบรรลุจุดหมายปลายทาง
เราพอจะเข้าใจแล้วว่าดวงและกายต่างๆ นับตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ จนถึงกายธรรมนั้น
เป็นทางผ่านของใจ และมีลักษณะซ้อนกันอยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั่นเอง
8.2.4 มรรคมีองค์ 8 เกิดขึ้นพร้อมกัน
มรรคทั้ง 8 ประการนี้ เมื่อบังเกิดย่อมบังเกิดพร้อมกันทั้ง 8 ประการ ดังพระอัญญาโกณฑัญญะ
เถรเจ้า ได้ฟังพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แล้วสำเร็จพระโสดาปัตติผลฉะนั้น มรรคทั้ง 8 อันยังจิตให้บรรลุ
โสดาปัตติผลนั้น เกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 8 ประการ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ อันได้แก่ปัญญานั้น ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4
ประการโดยรู้แจ้งว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 นั้น ชื่อทุกขอริยสัจ เพราะเป็นเหตุที่เกิดแห่งทุกข์ทั้งปวง รู้แจ้งว่า
ตัณหาอันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์นั้น ชื่อ ทุกขสมุทัยอริยสัจ รู้แจ้งว่า อาการที่ดับตัณหาได้เด็ดขาดมิให้
บังเกิดขึ้นอีกได้นั้น ชื่อทุกขนิโรธอริยสัจ รู้แจ้งว่า มรรคทั้ง 8 นั้น ชื่อทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ส่วนสัมมาสังกัปปะ คือ วิตก หรือดำริ ก็สามารถละเสียได้เด็ดขาด ซึ่งมิจฉาวิตก 3 ประการ
อันได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 191