สัมมาวายามะและการค้าขายที่ผิดศีล GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 197
หน้าที่ 197 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการค้าขายสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น การค้าขายเครื่องประหาร มนุษย์ และสัตว์ สำหรับทำอาหาร รวมถึงการค้าขายน้ำเมาและยาพิษที่สร้างความเดือดร้อน นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความสำคัญของสัมมาวายามะหรือความเพียรชอบในชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเกี่ยวกับการใช้ความเพียรให้อยู่อย่างมีประโยชน์ และไม่ให้เกิดความชั่ว ถือเป็นคุณธรรมสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น การละบาปที่เกิดแล้ว การสร้างกุศลที่ยังไม่เกิด และการรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้ดำรงอยู่และเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เนื้อหาเกี่ยวกับความเพียรและการค้าขายจึงมีความเกี่ยวข้องกันในทางศีลธรรม

หัวข้อประเด็น

-สัมมาวายามะ
-การค้าขายผิดศีล
-ความเพียรในพระพุทธศาสนา
-การสร้างกุศล
-การหลีกเลี่ยงบาป

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1 ค้าขายเครื่องประหาร 2 ค้าขายมนุษย์ 3 ค้าขายสัตว์เป็นเพื่อทำเป็นอาหาร 4 ค้าขายน้ำเมา 5 ค้าขายยาพิษ” เพราะทรงเห็นว่าการค้าขายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะนำมาซึ่งความเดือดร้อนใจในภายหลัง และยัง ขัดต่อคำสอนของพระองค์อีกด้วย การเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรมให้เป็นที่สรรเสริญแห่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย 6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ความเพียรชอบ จัดเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง เป็นคุณธรรมที่ศาสดาของทุก ศาสนายกย่องนักปราชญ์ทั้งปวงสรรเสริญความเพียรเป็นคำกลางๆ และเป็นดาบสองคมอยู่สุดแล้วแต่บุคคลจะ ใช้ความเพียรไปในทางใด ถ้าใช้ไปในทางที่ชอบก็เป็นสัมมาวายาโม ก่อให้เกิดมีความสุข ความเจริญเป็นผล ถ้าใช้ไปในทางไม่ชอบเป็นมิจฉาวายาโม เช่น ความพยายามของโจรก็มีความทุกข์ ความต่ำทรามเป็นผล วายามะ และ วิริยะ มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสาวก และนักปราชญ์ทั้งหลายได้สรรเสริญความเพียรไว้มาก อย่างเช่น ในขุททก นิกาย จริยาปิฎก เล่มที่ 33 หน้าที่ 595 กล่าวไว้ว่า “ท่านทั้งหลายเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย เห็นความ เพียรเป็นธรรมเกษม คือ ปลอดภัยแล้ว จงเป็นผู้มีความเพียรสม่ำเสมอเถิด นี่เป็นพุทธานุศาสน์ (การพร่ำ สอนของพระพุทธเจ้า)” องค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงทำความเพียรเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ ทรง ตั้งจตุรงคมหาปธาน ความเพียรอันประกอบด้วยองค์ 4 ว่า “เลือดและเนื้อ ในสรีระของเราจะเหือดแห้ง ไป เหลือแต่เอ็นและกระดูก ก็ช่างเถิด ถ้ายังไม่บรรลุผลที่เราต้องการ คือสัพพัญญุตญาณแล้ว จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด” อย่างนี้เรียกว่า ทรงทำความเพียรแบบ “มอบกายมอบชีวิต” ไม่ทรงอาลัยในชีวิต ในที่สุดพระองค์ก็ได้บรรลุผลสมความมุ่งหมาย คือ ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัมมาวายามะที่ปรากฏในมัคควิภังคสูตร สูตรที่ว่าด้วยการจำแนกมรรค พระพุทธองค์ทรงนิทเทส (บทขยาย) สัมมาวายามะ ไว้ว่า 1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น 2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว 3. ภาวนาปธาน คือ เพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น 4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ดำรงอยู่และเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป รวมความว่า ทรงหนุนให้เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วเพียรให้ ความดีเกิดขึ้น เพียรรักษาความดีให้ดำรงอยู่และเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป 186 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More