ข้อความต้นฉบับในหน้า
เห็นสมควรว่า ถึงเวลาแล้วที่จะประทานราชสมบัติแก่พระบรมโพธิสัตว์ จึงทรงปรึกษาพระนางผุสดีและ พระ
ประยูรญาติ จากนั้นก็ได้นำราชกัญญานามว่า มัทรี ผู้เป็นราชธิดาของพระเจ้าลุงจากมัททราชสกุล ให้เป็น
อัครมเหสี ให้เป็นใหญ่กว่าสตรีหมื่นหกพัน จากนั้นก็ทรงมอบราชสมบัติให้กับพระเวสสันดร
พระเวสสันดรทรงอาศัยความเป็นผู้มีโชคนี้ ทรงได้สละทรัพย์วันละหกแสนกหาปณะ ตั้งแต่ครอง
ราชสมบัติไม่เคยขาดเลย และพระองค์ยังประทับบนคอช้างเพื่อเสด็จทอดพระเนตรโรงทานทั้งหมดเดือนละ 6
ครั้งเป็นประจำอีกด้วย ทำให้ชื่อเสียงอันดีงามของท่านขจรขจายออกไปทั่วชมพูทวีป สมัยต่อมา พระนาง
มัทรีประสูติพระโอรส ชื่อชาลีราชกุมาร เมื่อพระราชกุมารนั้นทรงเดินได้ พระนางก็ทรงประสูติพระธิดา
พระนามว่า กัณหาชินา
สมัยนั้น ในกาลิงครัฐเกิดฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล การเก็บเกี่ยวไม่ดี ข้าวยากหมากแพง ทำให้
ชาวเมืองอดอยาก แถมยังมีโจรชุกชุม ฝ่ายพระราชาทรงแก้ปัญหาด้วยการทรงสมาทานศีล รักษาอุโบสถศีล
7 วัน ถึงกระนั้น ฝนก็ยังไม่ตก ชาวเมืองจึงกราบทูลให้พระราชาทรงส่งพราหมณ์ไปขอช้างมงคลของ
พระเวสสันดร ก็จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อพระราชาทรงสดับเช่นนี้ ก็เลือกพราหมณ์ 8 คน
แล้วรีบส่งไปขอมงคลหัตถีที่กรุงเชตุดรทันที เมื่อพราหมณ์ทั้ง 8 ท่านไปถึงกรุงเชตุดร ก็ได้ปลอมแปลงเป็น
ยาจกขอทาน ผู้น่าสงสาร นุ่งเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดวิ่น เนื้อตัวเปื้อนฝุ่นธุลีไปนั่งรอพระเวสสันดรที่โรงทาน
เช้าตรู่วันนั้น เมื่อพราหมณ์ทั้ง 8 เห็นพระเวสสันดรออกตรวจโรงทานก็เข้าไปนั่งล้อมรอบช้างมงคล
พระเวสสันดรจึงตรัสถามพราหมณ์ทั้ง 8 จึงทราบว่า พราหมณ์ทั้ง 8 ต้องการได้ช้างมงคลไปยังกาลิงครัฐ
พระองค์จึงได้ให้ช้างมงคลตัวนั้นแก่พราหมณ์ พวกพราหมณ์พอขอช้างได้แล้ว ก็พากันแห่ไปท่ามกลางพระนคร
พอมหาชนเห็นช้างมงคลเข้า ก็ถามจึงทราบว่าพระเวสสันดรบริจาคมา ก็พากันวิพากวิจารณ์และโกรธ
พระโพธิสัตว์มาก จึงรวมตัวกัน ตั้งแต่ราชบุตรจากทุกตระกูล พ่อค้า ชาวนา พราหมณ์ ต่างก็พากันมาชุมนุม
ร้องเรียนพระเจ้าสัญชัยให้ทรงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกเมืองสีพี ไปอยู่ที่เขาวงกตเถิด
พระเจ้าสัญชัยสดับคำร้องเรียนเช่นนั้นแล้ว ก็เห็นว่า ไม่สามารถต้านกำลังของชาวเมืองได้ จึงรับสั่ง
ให้พระเวสสันดรพักได้อีกหนึ่งคืน พอเวลาเช้าก็จะให้ออกจากเมือง ถึงกระนั้นพระเวสสันดรก็ไม่ได้หวั่นไหว
อะไรเลย ไม่รู้สึกท้อพระทัย หรือเดือดร้อนกับการสร้างมหาทานทานบารมีของพระองค์ มีแต่เกิดความปีติ
โสมนัสที่จะได้สร้างทานบารมี ในวันรุ่งขึ้น ก่อนที่จะออกเดินทางไปอยู่ที่เขาวงกต จะต้องทำมหาทานให้
ยิ่งๆ ขึ้นไป
สาเหตุที่ชาวเมืองไม่ยินดีในการบริจาคช้างมงคลของพระเวสสันดร เพราะช้างมงคลเชือกนี้ เป็นช้างที่ประดับด้วยเครื่อง
อลังการราคา 4 แสนที่เท้าทั้ง 4 ข้าง เครื่องอลังการประดับที่ 2 สีข้างของช้างด้านละ 2 แสน ข่ายคลุมหลัง 3 ชนิด คือ ข่ายแก้ว
มุกดา ข่ายแก้วมณี และก็ขายทองคำ ราคา 3 แสน กระดึงเครื่องประดับที่ห้อยลงมาตามสีข้างทั้งสอง ราคา 2 แสน ผ้ากัมพล
ลาดบนหลังราคา 1 แสน เครื่องประดับใช้คลุมกระพองราคา 1 แสน สายรัด 3 สายราคา 3 แสน พู่เครื่องประดับที่หูทั้ง 2 ข้าง
ราคา 2 แสน ปลอกเครื่องประดับงาทั้ง 2 ราคา 2 แสน วลัยเครื่องประดับทาบที่งวงราคา 1 แสน เครื่องประดับหาง ราคา 1 แสน
เครื่องประดับ งตบแต่งงดงามที่กายช้าง และเครื่องประดับอย่างอื่นอีกรวมราคา 22 แสน เกยสําหรับขึ้น ราคา 1 แสน อ่าง
บรรจุของบริโภคราคา 1 แสน ทั้งหมดรวมเป็น 24 แสน นอกจากนี้ยังมีมณีที่กำพูฉัตรและที่ยอดฉัตร สร้อยมุกดาที่ขอช้าง สร้อย
มุกดาผูกคอช้าง กระพอง และที่ตัวพญาช้างเอง รวมแล้วเป็นเครื่องประดับที่หาค่ามิได้ ซึ่งชาวเมืองถือว่าช้างนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมือง
ไม่ใช่เป็นเพียงของพระเวสสันดรเท่านั้น จึงไม่พอใจกับการบริจาคมงคลหัตถีในครั้งนี้
บทที่ 4 ก่อนจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน DOU 107