ข้อความต้นฉบับในหน้า
กิเลสในกายทิพย์นั้นประกอบด้วยโลภะ โทสะ และโมหะ เมื่อจิตบริสุทธิ์พ้นจากกิเลสในกายทิพย์แล้ว
ก็จะเข้าถึงกายรูปพรหม กิเลสในกายรูปพรหมนั้นประกอบด้วยราคะ โทสะ และโมหะ เมื่อจิตบริสุทธิ์พ้นจาก
กิเลสในกาย รูปพรหมแล้ว ก็จะเข้าถึงกายอรูปพรหม
กิเลสในกายอรูปพรหมนั้นประกอบด้วยกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย เมื่อจิตพ้นจากกิเลส
ในกายอรูปพรหมแล้วก็จะเข้าถึงกายธรรมหรือเรียกว่า ธรรมกายเบื้องต้น อยู่ในระดับโคตรจิตเป็นโคตรภูบุคคล
ครั้นโคตรภูบุคคลเข้าฌานสมาบัติ เพ่งอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์หยาบและมนุษย์ละเอียดเป็น
อนุโลมและปฏิโลม แล้วจิตก็จะเข้าถึงกายธรรมพระโสดา เป็นพระโสดาบัน ถึงความเป็นพระอริยบุคคลผู้
สามารถละสังโยชน์ได้ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ลำดับต่อไป กายธรรมพระโสดาบันจะเข้าฌานสมาบัติเพ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ถึงขีดสุดแล้วจะสามารถละกิเลสได้อีก 3 ประการ คือ ราคะ โทสะ โมหะชั้นหยาบ แล้วจิตจะเข้าถึง
กายธรรมสกิทาคามี เป็นพระสกิทาคามี คือ พระอริยบุคคลผู้สามารถละกิเลสได้ 3 ประการคือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง
ครั้นแล้ว กายธรรมพระสกิทาคามีจะเข้าฌานสมาบัติเพ่งอริยสัจ 4 ทำนองเดียวกันนั้น ในกายรูป
พรหมต่อไป ถึงขีดสุดสามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้งหมด คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กาม
ราคะ และปฏิฆะ เข้าถึงกายพระอนาคามี ครั้นแล้วกายธรรมพระอนาคามี ก็เข้าฌานสมาบัติเพ่งอริยสัจ 4
ทำนองเดียวกันนั้นต่อไป ถ้าสามารถละสังโยชน์เบื้องสูงได้หมด คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
จะเข้าถึงกายธรรมพระอรหัต การละสังโยชน์ทั้งหมดนั้น เป็นสมุจเฉท คือ เด็ดขาด โยคาวจรก็จะบรรลุถึง
พระอรหัตตผล ปราศจากซึ่งอาสวะกิเลสทั้งปวง
สรุปว่า การละกิเลสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายมีลักษณะละออกไปเป็นชั้นๆ
เป็นลำาดับตามอรรถาธิบายดังกล่าวแล้ว
การรู้เห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณแห่งธรรมกาย หมายความว่า ขณะที่โยคาวจรเจริญสมถภาวนา
ดำเนินจิตผ่านกายต่างๆ เข้าไปจนถึงกายธรรมโคตรภูแล้วใจของโยคาวจรก็จะรวมสนิทแนบแน่กับกายธรรมนั้น
บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 195