ประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการแพร่หลาบของพระพุทธศาสนา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 160
หน้าที่ 160 / 209

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับการเสด็จโปรดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงการบวชของพระราหุลและนันทศากยบุตร การเติบโตและการแพร่หลายของพระพุทธศาสนาในแคว้นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะได้บรรพชาของพระนางมหาปชาบดี ที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลานั้นทำให้เกิดการพัฒนาของศาสนาในแคว้นโกศลและวัชชี และการชักชวนให้ประชาชนยอมรับเมื่อเกิดภัยพิบัติ

หัวข้อประเด็น

- ประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- การแพร่หลาบของพระพุทธศาสนา
- การบวชของพระราหุลและนันทศากยบุตร
- การจัดตั้งวิหารพระเชตวัน
- พระนางมหาปชาบดีและการบวชภิกษุณี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนตั้งอยู่ในสกทาคามิผลแล้วพระพุทธ องค์ก็ได้ไปโปรดพระนางยโสธราและราหุลกุมาร ในการเสด็จโปรดครั้งนี้ พระพุทธองค์ก็ได้มอบอริยทรัพย์ ให้แก่พระราหุลกุมารด้วยการให้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ให้นันทศากยบุตรได้บวชในพระพุทธศาสนา หลัง จากที่ทำอุบายให้นันทะตามเสด็จพระองค์กลับไปราชคฤห์ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ในระหว่างทางที่เสด็จ ประทับพักแรมอยู่ที่อนุปิยนิคมของแคว้นมัลละ มีเจ้าศากยะ 6 องค์ คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภค กิมพิละ เทวทัต พร้อมด้วยช่างกัลบกหนึ่งคน ชื่อว่า อุบาลี ได้มาทูลขอพระพุทธองค์บรรพชาอุปสมบท ซึ่ง พระพุทธองค์ก็ทรงให้บรรพชาอุปสมบท จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุ ก็เสด็จออกจากอนุปิยนิคมไป เมืองราชคฤห์ ประทับอยู่ที่เวฬุวัน โดยลำดับ และหลังจากเหตุการณ์นี้จึงทำให้พระพุทธองค์ทรงได้อุปัฏฐาก ประจำตัว คือ พระอานนท์ ผู้ที่คอยอุปัฏฐากดูแลตลอดพระชนมชีพของพระพุทธองค์ นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป พระพุทธศาสนาก็ได้เจริญแพร่หลายออกไปสู่แคว้นต่างๆ มากยิ่งขึ้นโดยลำดับ พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวเมืองต่างๆ ก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ดังเช่น สุทัตตเศรษฐี หรือที่ชาวเมืองรู้จักกันในชื่อว่า อนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้มาพบพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ ก็เกิดความ ศรัทธาเลื่อมใส และได้สร้างวิหารพระเชตวันที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาด้วยทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแคว้นโกศลเป็นต้นมา นอกจากนี้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ที่มีเขตแดนติดกับแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร ก็ได้นับถือ พระพุทธศาสนาเช่นกัน โดยในเมื่อครั้งที่เมืองเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย มีคนยากจนอดตาย ศพกลาดเกลื่อนทั่ว เมือง อมนุษย์ได้กลิ่นซากศพก็พากันเข้ามาในเมือง ผู้คนตายเพิ่มขึ้น โรคระบาดก็เกิดขึ้นทั่วเมือง พวก เจ้าลิจฉวีจึงได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองเวสาลี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาสู่เมืองเวสาลี เพียง แค่ย่างพระบาทแรกลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ซึ่งเป็นเขตแดนติดกับแคว้นมคธ ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก ทำให้น้ำ ฝนที่ตกลงมาได้พัดพาเอาซากศพลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาด พระพุทธองค์ประทับยืนอยู่ใกล้ประตูพระนคร รับสั่งให้พระอานนท์สาธยายรัตนสูตร กล่าวสัจจวาจา อันอาศัยคุณของพระรัตนตรัย เพื่อกำจัดอุปัทวภัยเหล่านั้นที่ประตูเมือง แล้วประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่ว พระนครพร้อมพวกเจ้าลิจฉวี เมื่อพระอานนท์กล่าวคำเริ่มต้นของรัตนสูตรว่า “ยังกิญจิ” พวกอมนุษย์ต่างพา กันหนีออกจากพระนครไป อุปัทวภัยทุกอย่างก็สงบลง มหาชนชาวเมืองเวสาลีต่างพากันออกมาบูชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น หลังจากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสรัตนสูตรแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายอีก 7 วัน ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ความสวัสดีได้มีแก่ราชสกุลและมหาชน อุปัทวภัย ทั้งหลายสงบลง 6.3.7 กำเนิดภิกษุณี พระนางมหาปชาบดีผู้เป็นพระน้านางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความตั้งใจปรารถนาที่จะออกบวช ได้เข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทถึง 3 ครั้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังไม่อนุญาต พระนางเกิดความ น้อยพระทัย จึงได้ปลงพระเกศา ทรงครองผ้ากาสาวะ ถือเพศบรรพชิตพร้อมด้วยนางกษัตริย์เมืองต่างๆ เป็น จำนวนมาก และได้พากันออกเดินทางด้วยเท้าเปล่าไปยังกูฏาคารศาลาเพื่อทูลขอบรรพชาอีกครั้ง จน บทที่ 6 พุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันช่วงมัชฌิมกาล DOU 149
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More