ข้อความต้นฉบับในหน้า
ควรทำหรือไม่ควรทำ แล้วสิ่งที่ทำนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและแก่คนอื่นหรือไม่ จึงทำให้จิตของตนประกอบ
แต่กุศลกรรมอย่างเดียว ทำให้เกิดมีอานุภาพที่เชี่ยวชาญ เฉียบแหลมในการสร้างบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ตลอดทุกภพทุกชาติที่เกิด
3. อวัฏฐานะ คือ เป็นผู้มีความสามารถในการวางแผนดำเนินชีวิตของตนได้อย่างชัดเจน ทรง
ประกอบด้วยการอธิษฐานที่ติดแน่นอยู่ในใจอย่างมั่นคง หมายความว่า เมื่อทำความดีสร้างบุญบารมีแล้ว
ก็จะอธิษฐานจิตที่จะให้ได้บรรลุสัพพัญญุตญาณทุกครั้ง จึงทำให้ความปรารถนาของพระองค์ไม่เคยเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่นได้ตอกย้ำซ้ำเดิมในทุกชาติที่เกิดมาไม่ว่าจะถือกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า
จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้ โดยไม่ได้หวั่นไหวคลอนแคลนในการสร้างบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปตลอด
ทุกภพทุกชาติที่เกิด
4. หิตจริยา คือ เป็นผู้มีเมตตาเป็นปกติ ทรงประกอบด้วยเมตตาที่ติดแน่นอยู่ในใจอย่างมั่นคง
หมายความว่า พระองค์จะไม่ประทุษร้าย ไม่ว่าร้ายใคร แต่จะชื่นชมยินดีในความสำเร็จของคนอื่นเสมอ
มีความสงสารใคร่จักบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่หมู่สัตว์อยู่ตลอดเวลาให้ยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดทุกภพทุกชาติที่เกิด
ลักษณะพิเศษทั้ง 4 ประการนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการบำเพ็ญบารมีของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า เป็นการสละตนเองเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นทุกชีวิตอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันเรื่อยไปจนกว่า
จะบรรลุเป้าหมาย คือ ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาอันเป็นโลกุตตรสมบัติ คือ พระสัพพัญญุตญาณ ซึ่งอาจ
สรุปลักษณะพิเศษของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็น 2 ประการ คือ
1. การบำเพ็ญตนช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย
2. การบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณในอนาคต
การดำเนินชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์อยู่กับภาระที่จะพึงบำเพ็ญเพื่อ
ประโยชน์ 2 ประการข้างต้น ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องมีและประโยชน์ ทั้ง
สองนั้นก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ก็คือ การได้ชื่อว่าเป็นการ
บำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ตรงกันข้ามการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ก็คือการได้มีโอกาสอุทิศตนให้
เป็นประโยชน์แก่มวลสัตว์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน
ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นบุคคลต้นแบบที่ควรจะนำแบบอย่างที่พระองค์ได้ทรงทำไว้แล้ว
มาประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ โดยการตั้งความปรารถนาที่จะทำความดีสร้างบารมีให้เพิ่มพูนขึ้น เพื่อ
ไปสู่ฝั่งพระนิพพานอันเป็นแดนเกษมที่ๆ มีความสุขที่แท้จริง ฉะนั้นเมื่อได้อัตภาพเป็นมนุษย์เกิดมาพบ
พระพุทธศาสนา นับว่าโชคดีเป็นบุญลาภอันประเสริฐ จึงควรที่จะเร่งรีบสร้างบุญบารมีอย่างเต็มที่เต็มกำลัง
เก็บเกี่ยวบุญให้ได้มากที่สุด และให้หมั่นตอกย้ำ อธิษฐานจิต เตือนตนบ่อยๆ และฝึกฝนตนเองให้สม่ำเสมอ
ให้มีแต่นิสัยที่ดีติดตัวไปข้ามชาติจนกว่าจะเข้าสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน
ลักขณสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 16 หน้า 1
บทที่ 3 คุณสมบัติ และคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 69