ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
กล่าวโดยปริยายเบื้องต่ำ ความเห็นชอบ คือ ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องโลกและความเป็นไปของ
ชีวิต คือ ทานที่ให้แล้วมีผล การสงเคราะห์ที่ทำแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดี
และทำชั่วมี โลกนี้โลกหน้ามี พ่อแม่มีคุณ เป็นต้น ความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเช่นนี้เป็นสัมมา
ทิฏฐิเบื้องต้น ถ้าบุคคลเห็นไม่ตรงแม้ในเรื่องเบื้องต้นเช่นนี้แล้ว ก็เป็นการยากที่จะก้าวหน้าในคุณธรรมอันสูง
ขึ้นไป
กล่าวโดยปริยายเบื้องสูง หมายถึง ความรู้หรือญาณในอริยสัจ 4 ดังบาลีว่า
“กตมา จ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฐิ ย์ โข ภิกฺขเว ทุกฺเข ญาณ์ ทุกขสมุทเย ญาณ์ ทุกขนิโรเธ ญาณ์
ทุกฺขโรธคามินิยา ปฏิปทาย ญาณ์ อยู่ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฐิ”
คำว่า ญาณ ในที่นี้หมายถึงญาณ 3 อันเป็นไปในอริยสัจ 4 กล่าว คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ
กตญาณ บุคคลจะเป็นสัมมาทิฏฐิโดยสมบูรณ์นั้นจะต้องละกิเลสได้แล้วโดยสิ้นเชิง คือ รู้ในทุกขสมุทยอริยสัจ
รู้ในทุกขนิโรธอริยสัจ รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ แล้วปฏิบัติถอนซึ่งอวิชชา และตัณหา เมื่อเป็น
ดังนั้นแล้วย่อมไม่เห็นคลาดเคลื่อนในปรากฏการณ์ต่างๆ เพราะรู้เบื้องหลังของปรากฏการณ์แล้วอย่างดี
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
กล่าวโดยปริยายเบื้องต่ำ หมายถึง ความดำริชอบก็คือความคิดชอบ คือ คิดในทางมีคุณประโยชน์
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น วางแนวจิตของตนไว้ในทางที่ก่อประโยชน์ เช่น ตั้งใจในทางที่ดี ความคิดในการต่อสู้
อุปสรรค คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบ่งบอกความสำคัญของความคิดว่า “มโนปุพพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฐา มโนมย มนสา เจ ปทุฎเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมนุเวติ จกฺก ว วโห ปท
แปลว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีความคิดเป็นประธาน สำคัญที่ความคิดย่อมสำเร็จได้ด้วยความคิด ถ้าคนคิด
ไม่ดีย่อมพูดไม่ดี ทำไม่ดี จากนั้นความทุกข์ก็ตามมา เหมือนล้อเกวียนที่ตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป
กล่าวโดยปริยายเบื้องสูง หรืออย่างละเอียดซึ่งมีพระพุทธพจน์เป็นอุทเทสดังนี้
“กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาสงฺกปฺโป โย โข ภิกฺขเว เนกขมุมสงฺกปฺโป อพยาปาทสงฺกปฺโป อวิห
สาสงฺกปฺโป อย์ วุจฺจติ ภิกฺขเวสมฺมาสงฺกปฺโป”
แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบคืออย่างไร ภิกษุทั้งหลาย คือ ความดำริในการออกจาก
กาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้แล เราเรียกว่า ความดำริชอบ”
สามารถอธิบายขยายความเพิ่มเติมได้ดังนี้
1. ความดำริในการออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปปะ)
ก. ทำไมจึงต้องมีความดำริในการออกจากกาม เบื้องต้นต้องทราบก่อนว่าอริยมรรคมีองค์ 8 โดย
ปริยายเบื้องสูงนี้เป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับภพทั้งปวง ทั้งกามภพ รูปภพ
และอรูปภพการที่จะพ้นจากกามได้ก็ต้องออกจากกามด้วยการบำเพ็ญเนขัมมบารมีให้ต่อเนื่องไปทุกภพทุกชาติ
ข. คุณของการหลีกออกจากกามผู้มีปรีชาชาญ ย่อมได้ความปลอดโปร่งใจเป็นอย่างยิ่ง เกษมจาก
บทที่ 8 วิถี สู่ ความเป็นพุทธะ DOU 183