ข้อความต้นฉบับในหน้า
กระทั่งมาถึงที่ซุ้มประตูกูฏาคารศาลา พระอานนท์ออกมาต้อนรับ เห็นใบหน้าของพระนางนองไปด้วยน้ำตา
จึงได้ถามถึงเหตุที่ทำให้พระนางร้องไห้ พอทราบความแล้วก็อาสาจะไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จากนั้น พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ทรงอนุญาตสตรีได้บวชเป็นบรรพชิต
พระอานนท์ทูลขอถึง 3 ครั้ง พระพุทธองค์ก็ยังไม่ทรงอนุญาต พระอานนท์จึงทูลถามว่า “ถ้าผู้หญิงปฏิบัติ
ตนเป็นนักบวช ปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมะภายใน เรียนรู้ธรรมะของพระองค์ได้อย่างแจ่มแจ้ง หญิงนั้นสามารถ
ออกบวชได้ไหม พระเจ้าข้า” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า “ได้สิอานนท์” พระอานนท์ได้กราบทูลขอว่า
“ถ้า เช่นนั้นโปรดประทานการบวชแก่พระนางปชาบดีโคตมิได้ไหม พระเจ้าข้า” พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “อานนท์
เหตุที่เราไม่อนุญาตก็เพราะเห็นว่า หากอนุญาตให้สตรีบวช พระธรรมวินัยจะตั้งอยู่ได้ไม่นาน แต่เราจัก
บัญญัติครุธรรม 8 ประการนี้ เสมือนกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลออก หากพระนางยอมรับครุธรรม
นี้ได้ ข้อนั้นจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง”
พระอานนท์เรียนครุธรรม 8 ประการ" นี้แล้ว ออกมาชี้แจงแก่พระนางตามที่พระพุทธองค์ทรง
บัญญัติไว้ พระนางดีใจมาก ชื่นชมยินดี และขอน้อมรับครุธรรมทั้ง 8 ประการ พระอานนท์จึงกล่าวครุธรรม
ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้
1. ภิกษุณีแม้จะบวชได้ 100 พรรษา ก็ต้องกราบภิกษุผู้บวชแม้เพียงวันเดียว
2. ภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
3. ภิกษุณีต้องหวังธรรม 2 ประการ คือ ถามวันอุโบสถ และเข้าไปฟังคำสั่งสอนจากภิกษุสงฆ์
ทุกกึ่งเดือน
4. ภิกษุณีเมื่อออกพรรษาแล้ว ต้องปวารณา คือ ยอมรับคำตักเตือนในภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์
5. ภิกษุณีต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัต” ในภิกษุณีสงฆ์และภิกษุสงฆ์
6. ภิกษุณีที่ต้องแสวงหาอุปสมบทให้แก่สิกขมานา ผู้ศึกษาในธรรม 6 สิ้น 2 ปีแล้ว ในภิกษุณีสงฆ์
และภิกษุสงฆ์
7. ภิกษุณีห้ามว่าร้ายภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง
8. ภิกษุณีห้ามสอนภิกษุ แต่ให้ภิกษุกล่าวสอนภิกษุณี
จากนั้น ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุอุปสมบทให้ภิกษุณีได้ ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุณีก็เกิดขึ้นในโลก และมี
มาบวชอีกเรื่อยๆ จึงทำให้บรรพชิตในพระพุทธศาสนา คือ ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ซึ่งบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคนั้นจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน
6.3.8 โปรดพระพุทธมารดา
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงยมกปฏิหาริย์ เพื่อปราบเดียรถีย์และยังความเลื่อมใสแก่
มหาชนชาวเมืองสาวัตถีแล้ว ทรงเสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อจำพรรษาและโปรดพุทธมารดา เมื่อ
พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปแล้ว ได้ประทับนั่งอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ท้าวสักก
ครุธรรม 8 ประการ, พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์, มก. เล่ม 4 หน้า 363.
* ปักขมานัต ได้แก่ มานัตกึ่งเดือนที่สงฆ์ให้แก่นางภิกษุณี เพื่อเปลื้องอาบัติที่ตนปกปิดไว้หรือไม่ได้ปกปิด
150 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า