ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 207
หน้าที่ 207 / 209

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการศึกษาและการเข้าถึงการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเริ่มจากการเข้าใจการทำงานของใจในกายธรรม และกระบวนการวิปัสสนาที่นำไปสู่การบรรลุถึงภาวะที่เป็นเย็น นอกจากนี้ยังสรุปสาระสำคัญจากบทที่ 1-7 ที่แสดงถึงความสัมพันธ์และการศึกษาประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำทางไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ นับตั้งแต่การเข้าใจโลกในฐานะคุก จนถึงการสร้างบารมีเพื่อการตรัสรู้.

หัวข้อประเด็น

-การเข้าใจใจในกายธรรม
-การพัฒนาวิปัสสนาภาวนา
-ประวัติศาสตร์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ความสัมพันธ์ระหว่างบท
-การหลุดพ้นจากทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กลายสภาวะเป็นโคตรภูบุคคล ใจของกายธรรมนั้นประกอบด้วย ดวงเห็น จำ คิด รู้ ซ้อนๆ กันอยู่เช่นเดียว กับกายมนุษย์ แต่ทว่าใจของกายธรรมนั้น สามารถขยายแผ่เป็นวงกว้างออกไปโดยมีเส้นผ่าศูนย์เท่ากับหน้า ตักของกายธรรม กลางยาว 20 วา ดวงใจของ ตัวอย่างเช่น ถ้ากายธรรมโคตรภูมิมีหน้าตักกว้าง 20 วา ดวงใจของโคตรภูบุคคล ก็สามารถแผ่ขยายออกเป็นดวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 และถ้าโยคาวจรบรรลุ ถึงกายธรรมในลำดับที่สูงขึ้นไปอีก ดวงใจของกายธรรมใหม่นั้น ย่อมขยายเป็นวงกว้างขึ้นอีก ตามส่วนแห่ง หน้าตักของกายธรรมใหม่ ดวงใจที่สามารถขยายแผ่ออกไปเช่นนี้เรียกว่า “ญาณ” โดยเหตุที่ดวงใจของกายธรรมโคตรภูขยายกว้างออกไปเป็นญาณ จึงสามารถมองเห็นย้อนกลับมาดู กายต่างๆ ที่ผ่านไปทั้ง 8 กายอย่างชัดเจน นับตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จึงประจักษ์ แจ้งกายทั้ง 8 นั้นตกอยู่ในไตรลักษณ์ อันประกอบด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเห็นทั้งหมด นี้เรียกว่า เห็นด้วยตาแห่งกายธรรม การรู้ทั้งหมดนี้เรียกว่า รู้ด้วยญาณแห่งกายธรรม ณ ที่นี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ วิปัสสนา ครั้นเมื่อโยคาวจรเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปอีก ก็ย่อมจะบรรลุถึงกายธรรมชั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ย่อมบรรลุถึงภาวะแห่งสีติภูโต คือ เป็นผู้เย็นแล้ว อาสวะกิเลสสิ้นแล้ว กิจที่ต้องทำสิ้นสุดแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกแล้ว 8.4 สรุปสาระสำคัญจากการศึกษาศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่เราได้ศึกษาเรื่องราวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตามลำดับ ตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทที่ 7 ซึ่งในบทสรุปนี้ จะขอกล่าวถึงเนื้อหาทั้งหมดในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบทแบบสรุปย่ออีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาโดยภาพรวมทั้งหมดยิ่งขึ้น เริ่มต้นในบทที่ 1 ได้กล่าวถึงโลก อันเป็นที่อยู่อาศัยของเรา ใน กามภพนี้ ว่าเป็นเสมือนคุกที่คุมขังสรรพสัตว์ให้ได้รับความทุกข์ทรมาน และวนเวียนตายเกิดนับภพนับ ชาติไม่ถ้วน และโลกนี้ยังไม่เที่ยงแท้ ยังแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามวัฏจักรของไตรลักษณ์ หาก มีบุคคลหนึ่งที่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ที่จะนำพาตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากคุกไปนี้ไปสู่ฝั่งแห่ง พระนิพพาน บุคคลผู้นี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์สละชีวิตเป็นเดิมพันสร้างบารมีจนได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงรู้เห็นชีวิตตามความเป็นจริงว่าโลกนี้คือคุก และได้นำความรู้เหล่านั้นมาสั่ง สอน สรรพสัตว์ให้ได้รู้และปฏิบัติตามจนสามารถพ้นจากคุกได้ ในเมื่อโลกนี้ คือ คุก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเพียงบุคคลเดียวเท่านั้นที่ออกจากคุกไปได้และนำ ความรู้เหล่านั้นไปแนะนำสั่งสอนให้กับชาวโลกได้รู้จักวิธีการออกจากคุกตามพระองค์ไป ดังนั้นเราจึงความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของบุคคลผู้มีพระคุณสุดประมาณนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ออกจากคุกไปให้ได้ และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติเพื่อให้เราออกคุกนี้ไปให้ได้ โดยในบทที่ 2-7 จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด โดยในบทที่ 2-3 มีเนื้อหา ที่กล่าว ถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์โดยรวม ตั้งแต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือใคร ความ ยากในการเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน ประเภทของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีกี่ประเภท และคุณธรรมต่างๆ ที่จะทำให้เป็นพระสัมมาสัม พุทธเจ้ามีบารมี 10 ทัศ ธรรมสโมธาน พุทธภูมิธรรม เป็นต้น 196 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More