ข้อความต้นฉบับในหน้า
นิสัยที่ไม่ดีบางอย่างก็ติดตัวข้ามชาติมา เราเรียก นิสัยประเภทนี้ว่า สันดาน สรุปว่า นิสัย คือ
สิ่งเพาะขึ้นในชาตินี้ ส่วนสันดาน คือ นิสัยที่ติดข้ามภพข้ามชาติมา ส่วนนิสัยที่ดี ก็เป็นนิสัยที่ตรงข้ามกับ
กิเลส 3 ตระกูล คือ นิสัยรักการทำทาน มาสู้กับกิเลสตระกูลโลภะ นิสัยรักษาศีล มาสู้กับกิเลสตระกูลโทสะ
นิสัยทำภาวนามาสู้กับกิเลสตระกูลโมหะ ฝ่ายบุญกับฝ่ายบาปก็สู้ประจันหน้ากันอย่างนี้
เมื่อนักศึกษา ศึกษาพระพุทธศาสนามาถึงตรงนี้ ก็ต้องรู้ว่า นิสัยไม่ดีนำความเดือดร้อนมาให้เรา
ตลอดเวลาอยู่แล้ว ถ้าอยากจะให้หมดไป จะต้องทำอย่างไรกับนิสัยไม่ดีเหล่านี้ นิสัยเรามองออกเพราะเป็น
สิ่งที่แสดงออกมา แต่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดนิสัยที่ไม่ดี คือ กิเลส เรามองไม่เห็นตัว แต่แสดงพฤติกรรมออกมา
จะลบล้างมันได้ ก็ต้องแก้ตรงที่พฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิเลสที่ซุกอยู่ในใจ ให้มันฝ่อลง ย่ำแย่
ลง เหมือนเราเป็นไข้ แม้ไม่เห็นเชื้อโรค แต่ว่าเป็นอาการไข้ เรากินยาเข้าไปอาการไข้ลดลง แสดงว่าเชื้อ
โรคถูกทำลายไปด้วย
ในเมื่อเราไม่อยากให้นิสัยไม่ดีเหล่านั้นอยู่ในตัว เราก็ต้องใส่พฤติกรรมดีๆ เข้าไปแทน ย้ำคิด พูด
ย้ำทำในทางที่ดี ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งหนาแน่นพอก็จะล้มล้างนิสัยไม่ดีได้
สรุป ที่ต้องสร้างบารมีเพราะจะสร้างนิสัยดีๆ อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อกำจัดนิสัยไม่ดี อันมีกิเลส
3 ตระกูล คอยบีบคั้นอยู่ ให้หมดไป ซึ่งก็ต้องกำจัดด้วยนิสัยดีๆ ทั้ง 10 ประการ ทำทานเพื่อต่อสู้โลภะ รักษา
ศีล เพื่อต่อสู้กับโทสะ และโมหะต้องต่อสู้ด้วยภาวนา ทั้ง 7 บารมี (ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา
อุเบกขา) ก็จะต้องทำไปเพื่อหักกิเลส 3 ตระกูลให้หมดไป เพราะต้องทำอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
3.1.3 บารมี 10 มีอะไรบ้าง
พุทธการกธรรมหรือบารมี 10 ทัศที่ทำให้บุคคลได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอยู่ทั้งหมด 10 ประการ
คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตา
บารมี และอุเบกขาบารมี ซึ่งรายละเอียดของบารมีแต่ละอย่างมีดังนี้
1. ทานบารมี คือ การให้ การบริจาคหรือสละสิ่งของต่างๆ ของตนแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นบารมีอันดับแรก
ที่จะต้องกระทำก่อนบารมีอย่างอื่น เพราะพระพุทธองค์มีความปรารถนาที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
และจะพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นจากทะเลแห่งความทุกข์ไปสู่ฝั่งพระนิพพานด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะ
ต้องมีทีมงานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและมีทุน คือเสบียง เพื่อการหล่อเลี้ยงทีมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์จึงเริ่มต้นทำทานบารมีเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาไปกับ
การแสวงหาปัจจัยสี่ ทำให้บำเพ็ญบารมีอย่างอื่นได้ง่ายและยัง
กำจัดความตระหนี้ในใจได้อีก
ทานบารมีจึงเป็นพื้นฐานในการสร้างบารมีอย่างอื่นได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์จึงมีความยินดีในการบำเพ็ญ
ทานเป็นเนืองนิตย์ ไม่ว่าจะกำเนิดเป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีใจรัก
ในการบริจาคทาน อุปมาเหมือนกับบุคคลคว่ำหม้อน้ำที่มีน้ำอยู่
เต็ม ให้น้ำในหม้อไม่เหลือแม้สักหยดหนึ่งฉันใด พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าก็ยินดีในการบริจาคทาน ฉันนั้นพระองค์สามารถให้
ได้ทั้งหมดไม่มีเหลือทั้งทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยาหรืออวัยวะ
บทที่ 3 คุณ สมบัติ และคุณธรรมที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า DOU 53