ข้อความต้นฉบับในหน้า
กายในกาย ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ซึ่งพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ให้ตามเห็น
กายในกายเข้าไปเรื่อยๆ กายต่างๆ ที่เห็นอยู่
ภายในนั้นหากเป็นกายที่ตกอยู่ในไตรลักษณะ
คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ก็จง
ปล่อยวางเสีย แล้วดำเนินจิตผ่านไปเรื่อยๆ จน
เข้าถึงกายธรรม ซึ่งเป็นกายละเอียดที่สุด
กายต่างๆ อันตกอยู่ในไตรลักษณ์ และ
อยู่ระหว่างดวงปฐมมรรคกับกายธรรมนั้นได้แก่
กายมนุษย์- ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด
กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูป
พรหม กายอรูปพรหม ละเอียด กายเหล่านี้
ล้วนประกอบด้วยเบญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 อัน
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ส่วนกายธรรมนั้นมิได้ตกอยู่ในไตร
ลักษณ์ จึงเรียกว่า ธรรมขันธ์ ด้วยเหตุว่า เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันมีอยู่ในกาย
ธรรมนั้น ถูกกลั่นจนใสสะอาดบริสุทธิ์ กระนั้น
ก็ตามธรรมกาย' ยังถูกจำแนกออก เป็นหลาย
ระดับด้วยกัน ด้วยเหตุว่ามีความบริสุทธิ์ต่างกัน
กายธรรมระดับต้นที่สุด ซึ่งอยู่ถัดจากกายอรูปพรหมละเอียดเข้าไปนั้น คือ กายธรรมโคตรภู ถัด
ไปเป็นกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระโสดาบันละเอียด กายธรรมพระสกิทาคามี
กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอนาคามีละเอียด กายธรรมพระอรหัต
กายธรรมพระอรหัตละเอียด รวมทั้งสิ้น 10 กายด้วยกัน
การละกิเลสออกเป็นชั้นๆ โยคาวจรผู้เจริญมรรคมีองค์ 8 ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และถูกต้องตามหลัก
มัชฌิมาปฏิปทาแล้วใจก็ว่างเว้นจากความยินดียินร้ายทั้งปวง มีแต่ความวางเฉยที่มีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วย
สติปัญญา อันจะทำให้เข้าถึงช่องทางไปสู่อายตนนิพพานได้ถูกต้อง ความวางเฉยเช่นนี้คือ สิ่งที่สมเด็จ
พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุน และทรงเรียกว่า อุเบกขา สภาวะจิตที่วางเฉยเช่นนี้คือ สภาวะที่ห่างจากกิเลส หรือ
ที่เรียกว่า การละหรือการพ้นจากกิเลส ยิ่งพ้นกิเลสได้มากเพียงใด จิตก็ยิ่งสามารถดำดิ่งผ่านกายต่างๆ ไป
ได้มากเพียงนั้น กล่าวคือ กิเลสในกายมนุษย์นั้นประกอบด้วยอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ เมื่อจิต
บริสุทธิ์พ้นจากกิเลสทั้ง 3 ดังกล่าวแล้ว จิตก็จะเข้าถึงกายทิพย์
ธรรมกาย คือ กายตรัสรู้ธรรมของมนุษย์เราทุกๆ คน เป็นกายโลกุตระ ซึ่งอยู่เหนืออำนาสกิเลสทั้งปวงและมีอยู่ในตัว
ของมนุษย์ทุกคน ไม่เว้นแม้แต่สักคนเดียว กายธรรมหรือธรรมกายนี้ คือตัวพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง พระธรรมคำสอน
ทั้งสิ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มต้นจากเมื่อพระองค์เข้าถึงกายธรรม กระทั่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรม จนแยกออกจาก
กันไม่ได้ ดังที่ทรงรับสั่งว่า ธมฺมกาโย อห์ อิติปิ แปลว่า ตัวเราคือธรรมกาย ธรรมกายคือตัวเรา
194 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า