การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองราชคฤห์ GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 157
หน้าที่ 157 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาที่กล่าวถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองราชคฤห์ ตั้งแต่การได้รับความเคารพจากอุรุเวลกัสสปะ จนถึงการได้พบและบวชพระอัครสาวก เช่น พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ หลังจากที่ส่งพระสาวกออกไปเผยแผ่พระศาสนา พวกเขาได้นำพาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไปยังที่ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การเข้าถึงพระธรรมสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว ขณะที่วันเพ็ญเดือนมาฆะ มีพระภิกษุสาวกจำนวนมากรวมตัวกันเพื่อแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากเหล่าพระอรหันต์

หัวข้อประเด็น

-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-การเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การบวชของพระอัครสาวก
-พุทธวจน
-วันเพ็ญเดือนมาฆะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สามารถประดิษฐานในเมืองราชคฤห์ได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น เพราะเมื่ออุรุเวลกัสสปะให้ความเคารพเลื่อม ใสนับถือพระองค์แล้ว เหล่าศิษยานุศิษย์ของอุรุเวลกัสสปะซึ่งรวมถึงพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นกษัตริย์ แห่ง เมืองราชคฤห์ ก็ย่อมที่จะมานับถือพระองค์ตามอุรุเวลกัสสปะอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระพุทธ ศาสนาสามารถที่จะเผยแผ่ยังเมืองราชคฤห์ได้ และยังทำให้การประกาศพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ ทำได้ง่ายขึ้นและยังรวดเร็วไปทั่วแผ่นดินได้ง่าย เนื่องจากราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการค้าขายและมีผู้คนเข้า ออกเมืองมาก ก็ทำให้คนที่เข้ามาเมืองนี้ได้รู้ข่าวการบังเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะพากันไปบอกกล่าว กันต่อ เมื่อผู้ที่ทราบข่าวก็จะมาหาพระพุทธองค์และมาศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไป 6.3.4 พบอัครสาวก หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ส่งพระสาวกออกไปประกาศพระพุทธศาสนายังสถานที่ต่างๆ ทั่ว ประเทศ ก็ทำให้ในสถานที่ที่พระสาวกได้เดินทางไปถึงก็ทำให้มีผู้คนมานับถือพระพุทธศาสนากันมากเพิ่มขึ้น และยังมีคนอีกจำนวนมากที่อยากที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนากัน เหมือนอย่างที่พระอัสสชิได้ทำให้ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งในขณะนั้นท่าน ทั้งสองเป็นปริพาชก มีชื่อเดิมว่า อุปติสสะและโกลิตะ ท่านทั้งสองเป็นสหายกัน ต่างมีบริวาร 250 คนอาศัย อยู่ที่กรุงราชคฤห์ และออกบวชเป็นศิษย์ของท่านสัญชัยปริพาชกเรียนจนจบความรู้ของอาจารย์ก็ยังไม่พบ สิ่งที่ตนเองต้องการ วันหนึ่งท่านทั้งสองต่างก็สัญญาว่าจะไปค้นหาอาจารย์เพื่อที่จะหาวิชาความจริงของชีวิต และถ้า ใครพบเจอก่อนก็ให้มาบอกกับอีกคนให้ทราบด้วย ในที่สุดอุปติสสะก็ได้มาพบพระอัสสชิ จึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ได้เข้าไปกราบเรียนถามพระอัสสชิว่า “ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่านสอนเช่นไร” พระอัสสชิทราบว่าอุปติสสะเป็นนักบวชที่มีปัญญามากจึงกล่าวไปว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดา ของเราทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระองค์ทรงมีปกติสั่งสอนอย่างนี้” ด้วยปัญญาของอุปติสสะที่เคยฝึกฝนมาในอดีตชาติ จึงทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม จากนั้นจึงรีบกลับไปหา โกลิตะและบอกเรื่องราวที่ตนเองได้ไปเจอมา หลังจากโกลิตะฟังจบก็เกิดดวงตาเห็นธรรม ท่านทั้งสองได้พากันไปบอกข่าวนี้แก่พระอาจารย์สัญชัยปริพาชก แต่พระอาจารย์กลับไม่เชื่อ ทั้ง สองจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับบริวารจำนวนหนึ่ง และได้รับประทานการบวชแบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังท่านทั้งสองก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และทรงประทานนามของท่านทั้งสอง ตามนาม ของพระมารดาว่า สารีบุตรแก่อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรของนางสารี และประทานนามว่า โมคคัล ลานะ แกโกลิตะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคัลลี นอกจากนี้ยังได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นอัครสาวก 6.3.5 แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อเหล่าพระสาวกได้ออกจาริกไปเผยแผ่พระศาสนากันทั่วประเทศ ก็ไม่ได้มารวมกันหรือประชุมกัน เลย ต่างก็แยกย้ายกันออกไปทำหน้าที่ในการเผยแผ่ตามเส้นทางที่ตนได้เดินทางไป ซึ่งทุกรูปที่จาริกไปก็เป็น พระอรหันต์ทั้งหมด จึงไม่ได้มีการเรียกประชุมกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีเรื่องอันเป็นเหตุน่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นใน พระพุทธศาสนา คือ ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ได้มีพระภิกษุสาวกจำนวน 1,250 รูป - พระอัสสชิเถระ, พระวินัยปิฎก มหาขันธกะ, มก. เล่ม 6 หน้า 123. 146 DOU ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More