ข้อความต้นฉบับในหน้า
นอกจากนี้การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมาบังเกิดนั้น ไม่ได้มาบังเกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียว แต่จะมา
บังเกิดในช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่บารมีที่ได้บำเพ็ญมา และช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการมาตรัสรู้
เพื่อสั่งสอน
สรรพสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจะมาบังเกิดขึ้นเฉพาะในมหากัปที่เป็นอสุญกับเท่านั้น โดยในอสุญกัปนั้นยัง
แบ่งเรียกตามจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จอุบัติขึ้นอีกหลายประการ ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้จะ
กล่าวในหัวข้อต่อไป จึงนับว่าบนโลกใบนี้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นอย่างมากมายนับไม่ถ้วน เหมือน
การรับช่วงต่อกันในการมาทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่นำแสงสว่างแห่งธรรมมาสู่ใจของมวลมนุษยชาติและเหล่า
สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อจะนำไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน อุปมาดังนาวาที่นำเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายล่องลอย
ผ่านทะเลแห่งวัฏสงสารไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในแต่ละพระองค์ที่มาบังเกิดขึ้นก็นำพา
เหล่าสรรพสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพานได้อย่างมากมาย
ดังนั้น
พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล
แต่คือมนุษย์ที่มีความคิดจะ
ออกจากวัฏสงสาร และจะ
นําพาเหล่าสรรพสัตว์ข้ามห้วง
แห่งวัฏสงสารไปสู่ฝั่งพระ
นิพพาน จึงได้วางแผนและ
ตั้งใจบำเพ็ญบารมีเพื่อความ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อย่างเต็มกำลัง โดยได้ใช้
ความอดทนเพื่อให้บรรลุ
40
7 เทคม 2547
เป้าหมายที่วางไว้ คือการเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น คนเราทุกคนสามารถที่จะตั้งเป้าหมายเพื่อความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ โดยเริ่ม
ต้นตั้งแต่วันนี้หรือเดี๋ยวนี้ก็ย่อมได้ ตั้งใจปฏิบัติอย่างเต็มกำลังตามแนวทางแห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อนั้นสักวันหนึ่งในอนาคตกาล สิ่งเหล่านี้ก็จะประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน
2.5 พุทธอุบัติ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องใช้เวลาในการ
สร้างบารมีเป็นเวลายาวนานหลายภพหลายชาติ ด้วยความเพียรพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจและด้วยกำลัง
ใจอย่างมาก ประกอบกับการฝึกฝนตนเองด้วยความอดทน ดังคำที่พระพุทธองค์เคยตรัสไว้เมื่อครั้งที่ยังเป็น
พระโพธิสัตว์สร้างบารมีอยู่ว่า “มารดาบิดามิได้เป็นที่เกลียดชังของเรา ทั้งยศใหญ่เราก็มิได้เกลียดชัง
แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรามากกว่า” สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีพระปัญญาอย่าง
กว้างขวาง เป็นพระสัพพัญญูรอบรู้ทุกสิ่ง และเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
- เอกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค ทูเรนิทาน, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 55 หน้า 79.
38 DOU
ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า