ความนำแห่งสามัญญผลสูตร SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 15
หน้าที่ 15 / 209

สรุปเนื้อหา

บทที่ 1 กล่าวถึงความหมายของสามัญญผลในบริบทของพระพุทธศาสนา โดยเน้นถึงอานิสงส์ของการเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์ ซึ่งจะได้รับผลดีและความเคารพจากผู้อื่น การเป็นนักบวชยังนำไปสู่การมีสติสัมปชัญญะ และเป็นกัลยาณมิตรที่ชี้ทางที่ดีงามให้แก่ผู้อื่น นักบวชมีความตั้งใจที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งคือเป้าหมายสูงสุดในชีวิต และแม้ยังไม่สามารถบรรลุได้ในชาตินี้ การสั่งสมบุญและประสบการณ์ก็ไม่สูญเปล่าและสามารถนำไปสู่ผลที่ดีในภพชาติถัดไป ตามแนวคิดที่ว่า บุญสามารถสั่งสมได้ทีละน้อย จนกระทั่งเต็มเปี่ยม

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของสามัญญผล
- อานิสงส์ของนักบวช
- ผลดีจากการเป็นสมณะ
- มรรคผลนิพพาน
- การครองชีวิตอย่างถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 1 ความนำแห่งสามัญญผลสูตร 1.1 ความหมายของสามัญญผล คำว่า “สามัญญผล” ในสามัญญผลสูตร หมายถึง ผลหรืออานิสงส์ของความเป็นสมณะ หรือผลดี ของการเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ครองชีวิตเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธ ศาสนานั้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมายนานัปการ ตามธรรมดาของสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นมักจะมีโทษมหันต์แฝงอยู่เป็นของ ควบคู่กันไป แต่การเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา จะบังเกิดแต่ผลดีเท่านั้น ไม่มีผลร้ายหรือโทษเลย ผลดีที่นักบวชจะพึงได้รับนั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับ ที่เห็นได้ชัดเจนในทันทีก็คือ การได้รับความ เคารพยกย่องจากบุคคลโดยทั่วไป นอกจากนี้ การเป็นนักบวชยังทำให้เป็นผู้มีความสงบ กาย วาจา ใจ มี สติสัมปชัญญะ มีปัญญาพิจารณาไตร่ตรองเรื่องต่างๆ รอบคอบขึ้น มีความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตอย่าง แท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้นักบวชสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเอง เพื่อการครองชีวิตอย่างถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส และยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับผู้อื่น คือเป็นผู้ชี้ทาง ที่ถูกต้องดีงามให้แก่บุคคลรอบข้างและชาวโลกได้อีกด้วยการเป็นนักบวชย่อมจะได้รับแต่ผลดียิ่งๆขึ้นไปเช่นนี้ จนกระทั่งบรรลุถึงผลขั้นสูงสุด คือ มรรคผลนิพพาน หากยังไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ได้ ประสบการณ์ และบุญกุศลทั้งปวงที่นักบวช ได้บำเพ็ญไว้ในปัจจุบันชาติก็ไม่สูญเปล่า ย่อมสั่งสมไว้เป็นรากฐานหรือกองทุน เพื่อรอเวลาออกผลในภพ ชาติต่อๆ ไป สมดังพุทธภาษิตที่ว่า “แม้หม้อน้ำ ย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยด ฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญทีละน้อย ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น” เมื่อบุญเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดใน พระพุทธศาสนา - ขุ. ธ. 25/19/31 4 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More