คำสอนของครูอชิตเกสกัมพลและครูปกุทธกัจจายนะ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 52
หน้าที่ 52 / 209

สรุปเนื้อหา

ครูอชิตเกสกัมพลสอนว่าโลกประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่รวมกันเพื่อสร้างมนุษย์และสิ่งต่างๆ โดยเมื่อตายทุกอย่างจะกลับสู่ธาตุเดิมและไม่มีบาป-บุญ ซึ่งเรียกว่านัตถิกทิฏฐิ ขณะที่ครูปกุทธกัจจายนะแสดงความเห็นว่าวัตถุและจิตเป็นสิ่งเที่ยงแท้ อย่างไรก็ตามจิตไม่ได้ถูกทำลายแต่สามารถเข้าใจสัจธรรมและเข้าถึงนิพพานได้ ซึ่งถือว่าเกิดจากความเรียนรู้ในธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับจิต

หัวข้อประเด็น

-ครูอชิตเกสกัมพล
-ธาตุ 4
-คำสอนแห่งนัตถิกทิฏฐิ
-ครูปกุทธกัจจายนะ
-วิญญาณและจิต
-นิพพานและสัจธรรม
-ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุและจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.4.3 ครูอชิตเกสกัมพล ท่านผู้นี้สอนว่า แท้ที่จริงแล้วโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุทั้ง 4 นี้ ประกอบ กันขึ้นเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ และเป็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่ามนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ หรือก้อนหิน ล้วนมีสภาพ เหมือนกัน คือ เมื่อแยกธาตุต่างๆ ที่มาประชุมรวมกันแล้ว ก็จะสลายตัวออกไปเป็นธาตุ 4 เหมือนกันหมด ดังนั้น มนุษย์เราเมื่อตายแล้วก็ดับสูญ คือ กลับไปเป็นธาตุ 4 ดังเดิม จากคำสอนนี้ ย่อมสรุปได้ว่า บุญและบาปไม่มี การทำบาปไม่มีผล การทำบุญทำทานก็ไม่มีผล ยิ่งกว่านั้น ครูอชิตเกสกัมพลยังกล่าวด้วยว่า “คนโง่เป็นฝ่ายบริจาค ส่วนคนฉลาดเป็นฝ่ายรับ เพราะเหตุที่ครูอชิตเกสกัมพลได้ปฏิเสธทั้งเหตุและผลเช่นนี้ พระพุทธศาสนาจึงเรียกคำสอนของ ท่านว่า “นัตถิกทิฏฐิ” ส่วนในคำสอนที่ว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วดับสูญนั้น ได้ชื่อว่า “อุจเฉททิฏฐิ” 4.4.4 ครูปกุทธกัจจายนะ ท่านผู้นี้สอนว่า ในโลกเรานี้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ ธาตุต่างๆ มีดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น กับจิตหรือวิญญาณ หรือชีวะ หรืออัตตา ซึ่งล้วนเป็นของเที่ยงแท้ ไม่มีการดับสูญหรือถูกทำลาย ไปได้ ธาตุต่างๆ นั้นประกอบด้วยอณูเป็นจำนวนมาก เมื่อมารวมตัวกันก็เกิดเป็นวัตถุขึ้น เมื่อวัตถุสลายตัว อณูของธาตุก็เพียงแต่แตกกระจัดกระจายกันออกไป นั่นคือวัตถุสูญ แต่อณูไม่สูญ เพราะเป็นสิ่งเที่ยงแท้ อณูที่อยู่ในสภาพแตกกระจัดกระจายออกไปนี้ มีอำนาจในตัวของมันเอง ที่เป็นอิสระจากอำนาจ ของเทพเจ้า คือ สามารถรวมตัวกันเข้าเป็นวัตถุอีก เพราะฉะนั้นการเกิดดับของวัตถุก็คือผลของการรวมตัว หรือสลายตัวของอณูนั่นเอง ส่วนสิ่งที่เรียกว่า จิต วิญญาณ ชีวะ หรืออัตตา นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มีอำนาจในตัวเอง มิได้ประกอบด้วย อณู แต่เที่ยงแท้เช่นเดียวกัน วัตถุบางชนิด ถ้าจิตเข้าครองได้ จิตก็จะเข้าครอง เมื่อวัตถุนั้นแตกดับไปเพราะอณูสลายตัว จิตก็ จะออกจากวัตถุนั้นไปสู่สภาพเดิม เป็นอิสระเสรี ไม่ตกอยู่ในอำนาจของเทพเจ้าใดๆ จิตซึ่งเป็นอิสระเสรีนี้ อาจเข้าถึงสัจธรรมได้ และการบำเพ็ญก็คือ การทำจิตให้เป็นอิสระเสรี ความหมายของนิพพาน ตามความเห็นของครูปกุทธกัจจายนะ ก็คือ ความรู้จริง หรือรู้สัจธรรม ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุอันประกอบด้วยอณูอันเที่ยงแท้กับจิต หรือวิญญาณอันเที่ยงแท้ *ธรรมแห่งอริยะ หน้า 68 2 ธรรมแห่งอริยะ หน้า 67 บ า ที่ 4 ปั ญ ห า ค้ า ง พ ร ะ ท ย ข อ ง พ ร ะ เ จ้ า อ ช า ต ศั ต รู DOU 41
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More