การรักษาศีลและอาชีพบริสุทธิ์ในพระภิกษุ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 88
หน้าที่ 88 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการรักษาศีลในชีวิตของพระภิกษุ โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการดูแลรักษาของสิ่งมีค่า เช่น มารดาที่ดูแลบุตร การรักษาอาชีพบริสุทธิ์ที่ไม่ใช้กลวิธีที่ไม่ถูกต้อง และวิธีการดำรงชีวิตตามหลักศาสนาให้อยู่ในปัจจัย 4 อย่างเหมาะสม เรื่องราวนี้ช่วยให้เห็นถึงวิถีชีวิตของพระภิกษุที่มีความเคารพในศีลและความสำคัญของการดำรงชีวิตอย่างบริสุทธิ์ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-อาชีพบริสุทธิ์
-ภาวะปรกติในการเลี้ยงชีวิต
-ความสำคัญของปัจจัย 4
-มิจฉาอาชีวะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้เป็นผู้มีความเคารพรักในศีล ดังที่ทรงให้โอวาทไว้ว่า นางนกต้อยติวิด รักษาฟองนิดฉันใด แลทราย ย่อมรักษาขนหาง มารดา ย่อมรักษาบุตรยอดรัก คนเอกจักษุ ย่อมรักษานัยน์ตาข้างเดียวไว้ ฉันใด เธอทั้งหลายจงรักษาศีลให้เหมือนอย่างนั้น จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก มีความเคารพจงดีทุกเมื่อเถิด” ดังนั้น พระภิกษุที่มีปณิธานย่อมจะยังพระปาฏิโมกข์ให้บริสุทธิ์หมดจด แม้จะต้องสละชีวิตก็จะ ไม่ยอมล่วงละเมิดศีล ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ 6.2.2 มีอาชีพบริสุทธิ์ การมีอาชีพบริสุทธิ์ของพระภิกษุนั้น มีคำศัพท์โดยเฉพาะว่า “อาชีวปาริสุทธิศีล” ศัพท์เฉพาะ คำนี้ แยกพิจารณาได้ 3 คำ คือ คำที่ 1 “อาชีว” คือ อาชีพ หมายถึง พฤติการณ์ที่คนเราได้อาศัยเลี้ยงชีวิต คำที่ 2 “ปาริสุทธิ” คือ บริสุทธิ์ หมายถึง ความสะอาดหมดจดจากกิเลสอันชั่วช้า ปราศจาก การประพฤติทุศีล คำที่ 3 “ศีล” คือ ภาวะปรกติ ดังนั้น “อาชีวปาริสุทธิศีล” จึงหมายถึง “ภาวะปรกติในการเลี้ยงชีวิตอย่างสะอาดหมดจด ปราศจากการประพฤติทุศีล” เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุประกอบอาชีพใดๆ แบบฆราวาส พระภิกษุจึงต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัจจัย 4 คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และคิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค) ซึ่งได้รับมาจากทายกทายิกา พระภิกษุที่เลี้ยงชีวิตอย่างสะอาดหมดจด ปราศจากการประพฤติทุศีล ย่อมพอใจปัจจัย 4 ตามมี ตามได้ จัดว่าเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ในทำนองกลับกันพระภิกษุที่มุ่งแสวงหาปัจจัย 4 มาปรนเปรอตนเอง ด้วยกลวิธีทุศีลต่างๆ จัดว่าประพฤติมิจฉาอาชีวะ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ ลักษณะอาชีพไม่บริสุทธิ์ เพื่อให้เข้าใจอาชีวปาริสุทธิศีลชัดเจน จึงควรกล่าวถึงลักษณะอาชีพไม่บริสุทธิ์ของพระภิกษุเสียก่อน ลักษณะที่ถือว่าเป็นมิจฉาอาชีวะหรืออาชีววิบัติของพระภิกษุนั้น อยู่ที่การแสวงหามาด้วยการล่อหลอก และ *พระวิสุทธิมัคคี เผดจ เล่ม 1 หน้า 7 บ ท ที่ 6 คุ ณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท DOU 77
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More