การละเมิดสิกขาบทและการหลอกลวงในพระภิกษุ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 89
หน้าที่ 89 / 209

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงการละเมิดสิกขาบทซึ่งส่งผลให้สิ่งของที่ได้มาไม่บริสุทธิ์ โดยมีพระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งการหลอกลวงของพระภิกษุออกเป็นสามประเภท ได้แก่ การแสร้งแสดงตัวเป็นผู้สันโดษเพื่อดึงดูดการถวายจากทายก, การกล่าวคำพูดเพื่อลวงหลอกว่าตนมีคุณวิเศษ, และการแสดงอาการเป็นผู้เคร่งในพระธรรมวินัยเพื่อดึงดูดให้ทายกมาถวาย สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดส่งผลให้เกิดการละเมิดสิกขาบทอย่างชัดเจน และทำให้สิ่งที่ได้รับมานั้นไม่บริสุทธิ์อีกด้วย.

หัวข้อประเด็น

- การละเมิดสิกขาบท
- การหลอกลวงในพระภิกษุ
- จิตวิทยาการให้ของทายก
- การแสดงอาการในพระธรรม
- เพื่อกล่าวถึงความสำคัญในวินัยสงฆ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การละเมิดสิกขาบท ซึ่งมีผลให้สิ่งของที่ได้รับมาไม่บริสุทธิ์ เป็นของไม่ควรบริโภค การแสวงหาด้วยการล่อหลอกนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงรายละเอียดไว้มากมาย พระ อรรถกถาจารย์ได้แบ่งเป็นหัวข้อไว้ดังนี้ 1. กุหนา (อ่านว่า กุ-หะ-นา) หมายถึง การหลอกลวง มีอุทาหรณ์แสดงไว้ 3 พวก คือ พวกแรก พระภิกษุเสแสร้งแสดงให้ทายกเข้าใจว่า ตนเป็นผู้สันโดษ มักน้อย ไม่ปรารถนาจะรับ สิ่งของใดๆ เพื่อทำให้ทายกนึกนิยมสรรเสริญตนและคิดว่า ถ้าจะหาเครื่องไทยธรรมมาถวายพระภิกษุรูปนี้ ก็จะได้บุญมาก ครั้นเมื่อทายกนำสิ่งของมาถวาย ก็จะเสแสร้งกล่าวว่า ความจริงตนไม่ปรารถนา จะรับสิ่ง เหล่านั้นเลย แต่เพื่อจะอนุเคราะห์ทายกนั้น ตนก็ยินดีจะรับ การแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ ก็เพื่อลวงให้ทายก รู้สึกนิยมชมชอบตน แล้วชักชวนกันหาสิ่งของดีๆ มาถวายอีกเพราะคิดว่าคงจะได้บุญมาก พวกที่สอง ชอบพูดเป็นเลศนัย โดยมีเจตนาที่จะทำให้หลงเข้าใจผิดว่า ตนได้บรรลุฌานขั้นสูง หรือเป็นพระอริยบุคคล บรรลุโลกุตตรธรรม โดยการกล่าวถึงบุคลิกลักษณะของสมณะที่บรรลุโลกุตตร ธรรมบ้าง กล่าวถึงคุณวิเศษของสมณะบางรูปที่ตนรู้จักคุ้นเคยบ้าง การกล่าวถึงเรื่องราวในทำนองนี้บ่อยๆ ก็จะทำให้มหาชนหลงเข้าใจว่า พระภิกษุรูปนั้นบรรลุคุณวิเศษ เป็นพระอริยบุคคลแล้ว จึงชักชวนกันมา ถวายบิณฑบาต เสนาสนะ และปัจจัยต่างๆ มากมาย พวกที่สาม ชอบแสร้งทำตนให้ทายกเลื่อมใส ด้วยอิริยาบถที่แสดงว่าตนเป็นพระภิกษุที่เคร่งใน พระธรรมวินัย ทายกจึงพากันน้อมนำสักการะมาถวายมากมาย 2. ลปนา หมายถึง พูดพิรี้พิไร ได้แก่ การพูดประจบเลียบเคียงต่างๆ นานา โดยมีเจตนาจะได้ ปัจจัยไทยธรรมจากทายก พระอรรถกถาจารย์ได้ยกอุทาหรณ์ไว้หลายอย่าง เป็นต้นว่า เมื่อพระภิกษุเห็น ทายกเข้ามาสู่วิหาร ก็รีบชิงทักถามขึ้นก่อนว่า ทายกต้องการนิมนต์ภิกษุหรือ ถ้ามีความประสงค์เช่นนั้น อาตมาก็จะเป็นธุระพาภิกษุตามไปทีหลัง อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีทายกมาสู่วิหาร แล้วสนทนาซักถามด้วยเรื่องต่างๆ พระภิกษุก็พยายาม ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของตนเองว่า มีพระราชาหรือข้าราชบริพารระดับสูง ชื่อนั้นชื่อนี้มีความเลื่อมใสตน หรือพูดยกตนเองว่า มีสกุลใดสกุลหนึ่งที่มีอันจะกิน คอยถวายลาภสักการะให้ตนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เคย ถวายลาภสักการะพระภิกษุรูปอื่นเลย พระภิกษุบางรูปก็พยายามทำตนให้เป็นที่รักของเหล่าทานบดี โดยการประพฤติถ่อมตัวทั้งทางกาย และทางวาจา หรือบางรูปก็อาจจะแสดงการประจบทานบดี โดยการเข้าไปอุ้มทารก ซึ่งเป็นบุตรหลานของ ทานบดีบ้าง ให้ทารกขี่คอเล่นบ้าง ทำประหนึ่งเป็นพี่เลี้ยงหรือแม่ของทารกนั้น - พระวิสุทธิมัคค์ เผด็จ เล่ม 1 หน้า 64 78 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More