ข้อความต้นฉบับในหน้า
ลงโทษเหมือนกัน แต่เป็นโทษสถานเบา
เมื่อพระภิกษุไม่เปิดเผยคุณวิเศษ เราก็ย่อมไม่มีโอกาสรู้ อย่างไรก็ตาม หากเราจะวินิจฉัยว่า
พระภิกษุรูปใดดีหรือไม่นั้น เพียงพิจารณาคุณลักษณะของพระภิกษุในระดับ 1 และระดับ 2 ก็น่าจะ
เพียงพอแล้ว
จะเห็นได้ว่า การแบ่งคุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีออกเป็น 3 ระดับนี้ ได้พิจารณาตาม
หลักไตรสิกขา กล่าวคือ
คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องต้น คือ ศีลสิกขา (ศีล) คือ การฝึกกาย และวาจา
คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องกลาง คือ จิตตสิกขา (สมาธิ) คือ การฝึกใจ
คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องสูง คือ ปัญญาสิกขา (ปัญญา) คือ ความรู้แจ้งหรือผลที่
เกิดขึ้นจากการฝึกใจ
9.3 ลักษณะของพระภิกษุที่ไม่ควรนับถือ
จากสามัญญผลสูตร นักศึกษาคงพอจะมีข้อสรุปในใจได้แล้วว่า พระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่
พุทธศาสนิกชนไม่ควรเคารพนับถือทั้งควรหลีกให้ห่างนั้น มีลักษณะอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณา
จากปัจจัยแห่งสามัญญผลแล้ว ก็พอจะประมวลลักษณะของพระภิกษุที่ไม่ควรไว้วางใจ หรือไม่ควร
ให้ความเคารพนับถือ ดังนี้
1) บวชโดยมิได้มีศรัทธาในพระธรรมวินัย หมายความว่า มิได้มีเจตนาจะอบรมหรือพัฒนาตน
ให้บริสุทธิ์ในด้านกาย วาจา ใจ ตามหลักแห่งพระธรรมวินัย เช่น ภิกษุบางรูปบวชเพื่อหนีปัญหาความ
ยากลำบากในการทำมาหาเลี้ยงชีพ บางรูปบวชเพื่อหนีคดีอาญาบ้านเมือง บางรูปบวชเพื่อใช้ความเป็น
สมณเพศ เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพบางอย่าง ฯลฯ ข้อนี้สังเกตได้จากพฤติกรรมของพระภิกษุเอง
2) ย่อหย่อนในพระปาฏิโมกข์ มีการพูดปด เสพยาเสพติด ฉันอาหารมื้อเย็น ฟังดนตรี ฯลฯ เป็นต้น
3) ชอบไปสู่อโคจร โดยไม่ใช่กิจนิมนต์ คือ ไปยังสถานที่ที่พระภิกษุไม่ควรไป เช่น สถานเริงรมย์
หรือศูนย์การค้าต่างๆ เป็นการส่วนตัว
4) เล่นการพนัน หรือส่งเสริมให้ประชาชนหลงใหล อยู่กับการพนัน
5) สนใจพูดคุยเรื่องการรบ เรื่องแฟชั่น หรือเรื่องใดๆ ซึ่งนอกเหนือจากกิจของสงฆ์
6) อาสารับใช้ทำงานต่างๆ อันเป็นเรื่องของฆราวาส เช่น เป็นพ่อสื่อให้คู่หนุ่มสาว รับติดต่อ
ฝากคนเข้าทำงาน เป็นหัวคะแนนให้นักการเมือง เป็นต้น
138 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ