ข้อความต้นฉบับในหน้า
องค์ 5 คือวิตก (ความตรึกหรือคิด) วิจาร (ความตรองหรือพิจารณา) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ)
และเอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือสมาธิ)
เมื่อผู้ปฏิบัติมีใจตั้งมั่นอยู่ด้วยองค์ 5 เช่นนั้นนานเข้า จนใจผ่องใสยิ่งขึ้น ทำให้วิตกและวิจาร
สงบไป จึงบรรลุ “ทุติยฌาน” ตั้งมั่นอยู่ด้วยองค์ 3 คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา
เมื่อผู้ปฏิบัติยังคงมีใจตั้งมั่นยิ่งขึ้นไปอีก ปีติก็จะสิ้นไป จึงบรรลุ “ตติยฌาน” ตั้งอยู่ด้วยองค์ 2 คือ
สุขและเอกัคคตา
ถ้าผู้ปฏิบัติมีใจยังคงตั้งมั่นอยู่ด้วยองค์ 2 เช่นนั้นอย่างแน่วแน่ ไม่มีเสื่อมคลาย ย่อมบรรลุ
“จตุตถฌาน” ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีแต่อุเบกขา (ความวางเฉย) และเอกัคคตา
ตารางแสดงอารมณ์ในฌานระดับต่างๆ
อารมณ์
วิตก
วิจารณ์
ปีติ
สุข
อุเบกขา เอกัคคตา
ฌาน
ปฐมฌาน
ทุติยฌาน
ตติยฌาน
01
จตุตถฌาน
0 I
00
คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในองค์ฌาน
0 0 0 0
0
อารมณ์เหล่านี้เป็นองค์ฌานที่ใช้แยกแยะระดับของฌานต่างๆ แต่มิได้หมายความว่าในฌานต่างๆ จะมีเฉพาะ
อารมณ์เหล่านี้เท่านั้น เพราะในฌานทุกระดับยังมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ
ด้วย (ม. อุ. 14/155-158/116-119)
สำหรับอุเบกขา แม้จะมีอยู่ในฌานทุกระดับ แต่เด่นชัดที่สุดในจตุตถฌาน จึงจัดเป็นองค์ฌานของจตุตถฌานเท่านั้น
110 DOU
ชี วิ ต ส ม ณ ะ