หลักการเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 95
หน้าที่ 95 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับหลักการเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม รวมถึงข้อห้ามในการบริโภคและการใช้ชีวิตของสมณะ เช่น การเว้นจากการเก็บผักผลไม้ การรับเงินทองและการค้าขาย นอกจากนี้ยังมีการอธิบายประเภทของพืชคามและภูตคามเช่น ขมิ้น ข่า มะม่วง ทุเรียน ฯลฯ ซึ่งเสนอให้มีจิตสำนึกในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงและมีคุณธรรม.

หัวข้อประเด็น

-หลักการเว้นจากการพรากพืชคาม
-การใช้ชีวิตของสมณะ
-ประเภทพืชคามและภูตคาม
-ข้อห้ามในการบริโภค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม คือ เว้นจากการเก็บผักผลไม้มาบริโภค หรือตัดต้นไม้ ใหญ่มาสร้างกุฏิวิหาร เป็นต้น 9. มีภัตเดียว หมายถึงภัตที่พึงฉันในเวลาเช้า คือ ฉันเฉพาะในเวลาเช้าจนถึงเที่ยงวัน เว้นจาก การฉันในยามราตรี 10. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และชมการแสดงที่ยั่วยุให้กามกิเลสกำเริบ ขึ้นในใจ 11. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประทินผิว หรือ สิ่งต่างๆ ที่นำมาตกแต่งร่างกาย เพื่อให้เกิดความสวยงาม 12. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือยซึ่งไม่เหมาะแก่สมณะผู้สันโดษ 13. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน 14. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ ด้วยคิดหวังจะเก็บไว้ปรุงอาหารเอง 15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ 16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี 17. เว้นขาดจากการรับทาสและทาสี 18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ 19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร 20. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา 21. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน 22. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้ คือ ทำมาหากินด้วยอาชีพต่าง ๆ 23. เว้นขาดจากการซื้อและการขาย 24. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด พืชคาม คือ พืชพันธ์อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังจะเป็นได้อีก ภูตคาม คือ พืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี 5 ชนิด คือ 1. พืชเกิดจากเหง้า เช่น ขมิ้น ข่า 2. พืชเกิดจากต้น คือ ผล ที่ออกจากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น มะม่วง ทุเรียน 3. พืชเกิดจากข้อ คือ ใช้ข้อปลูก เช่น อ้อย ไม้ไผ่ 4. พืชเกิดจากยอด คือ ใช้ยอดปัก ก็ขึ้นเป็นต้นได้อีก เช่น ผักบุ้ง 5. พืชเกิดจากเมล็ด เช่น งา 84 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More