ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 25
หน้าที่ 25 / 209

สรุปเนื้อหา

บทที่ 2 หารือเกี่ยวกับที่มาของพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์และเป็นศูนย์กลางการเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ รวมถึงเศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรม มีบ้านเมืองที่ร่ำรวย เช่น กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของนักปราชญ์และเศรษฐี นอกจากนี้ยังพูดถึงพระเจ้าแผ่นดินพิมพิสาร ผู้ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในแคว้นนี้ด้วย

หัวข้อประเด็น

-ที่มาของพระพุทธศาสนา
-แคว้นมคธ
-เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
-พระเจ้าแผ่นดินพิมพิสาร
-ศูนย์กลางแห่งการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 2 ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร 2.1 ดินแดนประดิษฐานพระพุทธศาสนาแห่งแรก ในสมัยพุทธกาล แคว้นมคธขึ้นชื่อลือนามว่าเป็นแว่นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งเพราะตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ มีแม่น้ำใหญ่ 3 สาย คือ จัมปา คงคา และโสณะ ไหลคดเคี้ยวไปตามพรมแดนด้านตะวันออก เหนือ และตะวันตก ตามลำดับตลอดทั้งปี ทางด้านเหนือยังมีเทือกเขาหิมาลัยอันสูงทะมึน ซึ่งปกคลุมด้วย ป่าทึบและเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายขวางปิดกั้นพรมแดนไว้ เมืองหลวงของแคว้นนี้มีชื่อว่า “กรุงราชคฤห์” ที่เลื่องลือ กันว่า เป็นนครแห่งความร่ำรวยมั่งคั่งมหาศาล บรรดาเศรษฐีและมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ เช่น เมณฑกเศรษฐี เป็นต้น ล้วนอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์ บรรดาประชาราษฎร์ในนครนี้ล้วนใฝ่รู้ รักการเล่าเรียน มีความเชี่ยวชาญ ในเชิงศิลปวิทยาการต่างๆ ยิ่งนัก จึงมีความฉลาดเฉลียวในการหาทรัพย์ นำความมั่งคั่งร่ำรวยมาสู่แว่นแคว้น ถึงกับต้องเจาะภูเขาเป็นถ้ำ เพื่อใช้เป็นพระคลังหลวงสำหรับเก็บมหาสมบัติและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ กล่าวได้ว่า แคว้นมคธในสมัยพุทธกาลนั้นเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และลัทธิต่างๆ บรรดาศาสดาเจ้าลัทธิ และนักปราชญ์ ราชบัณฑิตทั้งหลายต่างมาชุมนุมกันในแคว้นนี้ สมกับที่เป็นดินแดนแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าโดยแท้ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย รวมทั้ง พระมหากัสสปเถระ ต่างก็เป็นชาวแคว้นมคธทั้งสิ้น เพราะเหตุที่เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญทั้งปวง แคว้นมคธจึงได้รับการยกย่องให้เป็นแว่นแคว้น แห่งมหาอำนาจ หนึ่งในสี่ของชมพูทวีป ยังความครั่นคร้ามยำเกรงแก่บรรดาแคว้นต่างๆ ในยุคนั้น และ เพราะเหตุนี้เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ แคว้นนี้เป็นแห่งแรก 2.2 ธรรมราชาพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นมคธในขณะนั้นคือ พระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงมีพระปรีชา สามารถ ทั้งในด้านการบริหารประเทศและการสงคราม พระองค์ทรงดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ โดยทรงผูกไมตรีกับแคว้นมหาอำนาจต่างๆ อย่างแยบคาย เป็นต้นว่า ได้อภิเษกสมรสกับพระนางเวเทหิ * แคว้นที่เป็นมหาอำนาจทั้ง 4 ของชมพูทวีป ได้แก่ มคธ โกศล อวันตี และวังสะ 14 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More